ผลงาน การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถทางวิชาการตามศักยภาพ
ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง จังหวัดแพร่
ผู้ประเมิน นางจุฬาลักษณ์ บัวชุม
ปีที่ประเมิน 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถทางวิชาการตามศักยภาพ ซึ่งใช้การประเมินรูปแบบ ซิป (CIPP Evaluation Model) การประเมิน 4 ด้าน ดังนี้ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้บริหารจำนวน 1 คน ครูผู้สอนโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 76 คนและนักเรียนอนุบาลโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง จำนวน 76 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยขอประชาการ (µ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร (σ) ในภาพรวมการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถทางวิชาการตามศักยภาพ โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ วิเคราะห์ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถทางวิชาการตามศักยภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง จังหวัดแพร่ ในภาพรวมมีคุณภาพระดับมาก ตามความคิดเห็นของทั้งผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูนักเรียน และผู้ปกครองซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อจำแนกตามแต่ละด้านของโครงการคือ
1. ด้านสภาวะแวดล้อม โรงเรียนมีความต้องการและจำเป็นต้องจัดทำโครงการพบว่ามีระดับความสอดคล้องผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่ามีระดับความสอดคล้องผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยนำเข้า เรื่องการจัดสถานที่สภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัย มีความเหมาะสมกับการส่งเสริมและพัฒนา มีระดับความสอดคล้องผ่านเกณฑ์เกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่ามีระดับความสอดคล้องผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินงาน ขั้นประเมินผลและรายงาน พบว่า โครงการมีความพร้อมและความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่ามีระดับความสอดคล้องผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต โดยโครงการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถทางวิชาการตามศักยภาพช่วยให้นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านอารมณ์ จิตใจและพัฒนาการด้านสติปัญญา มีระดับความสอดคล้องผ่านเกณฑ์ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่ามีระดับความสอดคล้องผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ตามความคิดเห็นทั้งของผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู และผู้ปกครอง และมีระดับความพึงพอใจมากที่สุดต่อการจัดกิจกรรมอู้ไทยพวนม่วนหูหมู่เฮาฮู้เรื่องหม้อห้อม นักเรียนได้ฝึกการพูดภาษาไทยพวน การเล่านิทานเป็นภาษาไทยพวน การร้องเพลงผ้าหม้อห้อม และเรียนรู้เรื่องหม้อห้อม เช่นการย้อมผ้า การประดิษฐ์งานศิลปะเป็นของเล่นของใช้ในห้องเรียน เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านไทยพวน และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถทางวิชาการตามศักยภาพ โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ มีความพึงพอใจมาก กิจกรรมที่นักเรียนชื่นชอบและมีความพึงพอใจมากที่สุดคือกิจกรรมค่ายหนูน้อยผจญภัยซึ่งได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
และนักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายหนูน้อยผจญภัย