ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมสระลดรูป เปลี่ยนรูป
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ผู้วิจัย นางปารณีย์ เอี้ยนมี
ปี พ.ศ. ๒๕๖๐
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ (๑) หาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมสระลดรูป เปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ (๒) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมสระลดรูป เปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ และ (๓) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมสระลดรูป เปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ โรงเรียนบ้านเขวาหรดี อำเภอเกษตรวิสัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๒ จำนวน ๑๘ คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย (๑) ชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมสระลดรูป เปลี่ยนรูป กลุ่มสระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ (๒) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้ชุดฝึกการอ่านและเขียนคำที่ประสมสระลดรูป เปลี่ยนรูป และ (๓) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมสระลดรูป เปลี่ยนรูป
แบบแผนการวิจัย ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผล ๒ ครั้ง (One Group Pretest-Posttest Design)
วิธีดำเนินการวิจัย มีดังนี้ (๑) ทดสอบก่อนเรียน (Pre test) (๒) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะ (๓) ทดสอบหลังเรียน (Post test) และ (๔) สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีดังนี้ (๑) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) (๒) วิเคราะห์หาคุณภาพของแบบทดสอบ ประกอบด้วย ค่าความยาก (P) และค่าอำนาจจำแนก (r) (๓) วิเคราะห์หาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะ E๑ / E๒ (๔) วิเคราะห์ผลการทดลองด้วยการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนและหลังเรียนของกลุ่มทดลอง โดยใช้ค่าอัตราส่วนวิกฤติ t แบบอิสระ (t-test for Independent Samples) และ (๕) วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
สรุปผลการวิจัย พบว่า
๑. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมสระลดรูป เปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ พบว่า คะแนนระหว่างเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะ ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ ๘๖.๖๖ ส่วนผลการทดสอบหลังเรียนได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ ๘๓.๑๓ ซึ่งกำหนดเกณฑ์ไว้ ๘๐ และ ๘๐ ตามลำดับ ดังนั้น ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะ E๑ / E๒ เท่ากับ ๘๖.๖๖ / ๘๓.๑๓ ซึ่งเทียบค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
๒. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมสระลดรูป เปลี่ยนรูป กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
๓. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านเขวาหรดี ที่มีต่อชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมสระลดรูป เปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อดูรายข้อ พบว่า ข้อ ๔ คำอธิบายในการทำกิจกรรมมีความชัดเจนเข้าใจง่าย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ข้อ ๖ เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมเพียงพอ และเหมาะสม กับ ข้อ ๙ นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการในชุดฝึก และข้อ ๑๐ ชุดฝึกทำให้ผู้เรียนมีความรู้และเรียนรู้อย่างมีความสุข ตามลำดับ ซึ่งทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อ ๑ เนื้อหาชุดฝึกเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก ซึ่งอยู่ในระดับมาก