บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดการสอนวิชาเคมี เรื่อง อะตอมและตารางธาตุ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดการสอนวิชาเคมี เรื่อง อะตอมและตารางธาตุ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนวิชาเคมี เรื่อง อะตอมและตารางธาตุ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนวิชาเคมี เรื่อง อะตอมและตารางธาตุ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนวิชาเคมี เรื่อง อะตอมและตารางธาตุ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนหนองบัวแดงวิทยา จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ 1) ชุดการสอนวิชาเคมี เรื่อง อะตอมและตารางธาตุ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) จำนวน 9 เล่ม ใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้เล่มละ 2 ชั่วโมง 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนวิชาเคมี เรื่อง อะตอมและตารางธาตุ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) จำนวน 9 แผน ใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้แผนละ 2 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบหลังเรียนประจำเล่ม จำนวนเล่มละ 10 ข้อ รวม 90 ข้อ คะแนน 90 คะแนน
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดการสอนวิชาเคมี เรื่อง อะตอมและตารางธาตุ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .30 .71 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .30 -.59 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .82 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนวิชาเคมี เรื่อง อะตอมและตารางธาตุ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .41 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ร้อยละ (%) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การหาประสิทธิภาพของชุดการสอนตามเกณฑ์ 75/75 โดยใช้สูตร (E1/E2) ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการสอนวิชาเคมี เรื่อง อะตอมและตารางธาตุ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) มีค่าเท่ากับ 84.78/78.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 75/75
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนวิชาเคมี เรื่อง อะตอมและตารางธาตุ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) มีค่าเท่ากับ 0.6176
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดการสอนวิชาเคมี เรื่อง อะตอมและตารางธาตุ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนวิชาเคมี เรื่อง อะตอมและตารางธาตุ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D.=0.59)