การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) โดย 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) 2.2) เปรียบเทียบทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) 2.3) ศึกษาพัฒนาการทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) ในช่วงระหว่างเรียน 2 ระยะๆ ละ 10 ชั่วโมง 2.4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) 3.) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา จำนวน 1 ห้องเรียนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Cluster random sampling) จำนวนนักเรียน 23 คนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผลการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง จำนวนนักเรียนทั้งหมด 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหา และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติแบบไม่อิสระและแบบอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการและองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำไปใช้ มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Start : S) 2) ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Ability : A) 3 ) ขั้นฝึกทักษะ (Operate : O) 4) ขั้นสรุป (Wind up : W)ซึ่งมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.87/81.50 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) พบว่า
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .01
2.2 ทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .01
2.3 ทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) สูงขึ้นในช่วงระหว่างเรียน
2.4 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.67/S.D. = 0.48)
3. การขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) พบว่านักเรียนกลุ่มขยายผลมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหา หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ และมีพัฒนาการทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาในช่วงระหว่างเรียน นอกจากนี้ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด