ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย มยุรี นะราวัง
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนบ้านหัวหมู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหัวหมู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหัวหมู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ที่กำลังศึกษาใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความสามารถในการสื่อสารและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถ ใน การสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่นักเรียนต้องการ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร เพราะนักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการสื่อสารในประชาคมอาเซียนได้
2. การพัฒนารูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยใช้ชื่อเรียกว่า 2W2E2P Model มีองค์ประกอบคือใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนบ้านหัวหมู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 2 ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นนำ (Warm up)
2) ขั้นจัดประสบการณ์ (Experience) 3) ขั้นฝึกปฏิบัติ (Practice) 4) ขั้นนำไปใช้ (Production) 5) ขั้นสรุป (Wrap up) และ 6 ขั้นประเมินผล (Evaluation) ผลจากการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ด้านวิชาภาษาอังกฤษ ผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ต้องการให้พัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้อย่างมีความสุข เพราะมีการทำกิจกรรมตลอดเวลา มีการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายไม่น่าเบื่อพร้อมทั้งให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในสถานการณ์ต่าง ๆ ผลการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถใน การสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 แบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 77.92/75.56 ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 แบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) เท่ากับ 79.31/77.78 และจากการทดลองภาคสนามประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 84.00/82.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 23 คนได้ค่าประสิทธิภาพ E1 /E2 เท่ากับ 83.82/82.90 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นถึงความเหมาะสมขององค์ประกอบรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร ที่พัฒนาขึ้นโดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นถึงความเหมาะสมของการรับรองขั้นตอนและกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด นักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด