บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงานฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี มุ่งสู่ความเป็นเลิศ และเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครูผู้สอน สถานศึกษา ของวิทยาลัยเทคนิคปัตตานี โดยประยุกต์ใช้แนวคิดสร้างความเป็นเลิศในองค์กรของ Mckinsey ซึ่งมี ๗ องค์ประกอบ และเพิ่มเทคนิคการวิเคราะห์ SWOT ในปีการศึกษา ๒๕๕๘-๒๕๖๑ ซึ่งผลการศึกษา พบว่ารูปแบบ 8s Model ได้แก่ ๑) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT) และบริบทการบริหารงานฝ่ายวิชาการภายในสถานศึกษา ๒)ด้านโครงสร้าง (Structure) ให้มีการกระจายอำนาจและกำหนดภาระงาน ๓) ด้านกลยุทธ์ (Strategy) ซึ่งกำหนดกลยุทธ์ PEACE ดังนี้ P = Participate กลยุทธ์การมีส่วนร่วม มุ่งเน้นการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมภายในฝ่ายวิชาการ คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา E = Elastic กลยุทธ์การยืดหยุ่น มุ่งเน้นการบริหารงานให้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมกับบริบทและวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ A = Atmosphere Physical กลยุทธ์การสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ C = Competency กลยุทธ์ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นสมรรถนะผู้เรียน E = Evaluation กลยุทธ์การติดตามผล โดยการนิเทศแบบกัลยาณมิตร๔) ด้านระบบ (System) ได้แก่การนำระบบ PDCA Technology Two-Way Communication และระบบ Internet ๕) ด้านทีมงาน (Staff) การกำหนดให้มีทีมงานหลักและทีมงานเสริม ๖)ด้านทักษะ (Skills) มุ่งเน้นทักษะผู้เรียน ๓R ๗C ๗)ด้านผู้นำ (Style) คือ ผู้บริหารมีคุณธรรม มีความยืดหยุ่น เป็นผู้นำทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลง ๘) ด้านค่านิยมร่วม (Share Value) คือ TANIS ซึ่งกำหนดร่วมกันคือ T = Teamwork การทำงานเป็นทีม A= Achievement มุ่งผลสัมฤทธิ์ N = Network สร้างเครือข่าย I = Integrity มีคุณธรรมและ S = Service Mind บริการประทับใจ ซึ่งผลการใช้รูปแบบ 8s Model สามารถขับเคลื่อนการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศมีผลในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครูผู้สอน และสถานศึกษา ดังนี้
ด้านผู้เรียน
๑.ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่านักศึกษาของวิทยาลัยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยสะสม ๒.๐ ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๕และปีการศึกษา ๒๕๕๙ คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๔๐ เพิ่มขึ้นตามลำดับ
๒.ผลการสอบประเมินมาตรฐานวิชาชีพของนักศึกษาระดับ ปวช.และ ปวส.ของผู้เข้าสอบ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ผ่านร้อยละ ๙๗.๕๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ผ่านร้อยละ ๙๖.๒๕
๓. ผู้เรียนสามารถสามารถเรียนระบบทวิภาคีจำนวน ๑ สาขาวิชา คือ สาขางานเทคนิคยานยนต์ จำนวน ๒๐ คน ปี๒๕๕๙ ซึ่งเดิมไม่มีการเปิดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี ในปี ๒๕๕๘ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้และสร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการ
๔ ผู้เรียนมีทักษะการสื่อสารและทักษะการแก้ปัญหา จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง ค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ ๒๔.๕๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดี ค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ ๔๒.๐๖ ผลการพัฒนาขึ้นตามลำดับ
๕ ผู้เรียนสามารถมีโอกาสการศึกษาต่อที่สูงขึ้นและมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในพื้นที่จชต.ระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีบัณฑิต ได้ ๒ สาขาวิชา คือ เทคโนโลยีไฟฟ้า และเทคโนโลยียานยนต์
๖ การสร้างโอกาสให้นักเรียน นักศึกษาได้ฝึกงานกับสถานประกอบการต่างภาค ต่างจังหวัด ตามนโยบายของศูนย์พัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์ วัฒนธรรม ทักษะวิชาชีพ จากต่างภาค เพิ่มขี้น
๗. ผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะวิชาชีพไปประยุกต์ใช้หรือผลิตผลงานได้อย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษาพัฒนาทักษะวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เช่น กิจกรรมจิตอาสา พัฒนาวัด มัสยิด เป็นต้น และจากการเสริมสร้างทักษะวิชาชีพและความรู้ด้านวิชาชีพ ส่งผลให้นักเรียน นักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคปัตตานี ได้รับรางวัลต่างๆ ทั้งระดับจังหวัด และระดับชาติ
๘. ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของวิทยาลัย ร้อยละ ๑๐๐
ด้านครูผู้สอน
๑. ครูผู้สอนใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มสมรรถนะทางด้านวิชาชีพให้แก่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
๒. ครูผู้สอนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากหน่วยงานต่างๆ
๓. ครูผู้สอนเป็นครูมืออาชีพ (Professional) สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ในการสร้างประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
ด้านสถานศึกษา
๑. สถานศึกษารางวัลพระราชทาน สถานศึกษาขนาดกลาง ระดับอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘
๒. มีปริมาณผู้เรียนเพิ่มขึ้น จากปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน๑,๒๗๓ คน ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๑,๔๓๗ คน ปีการศึกษา ๒๕๖๐ จำนวน ๑,๕๓๕ คน เพิ่มขึ้นตามลำดับ
๓. โล่รางวัล การจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ที่สภาสถาบันกำหนด ร้อยละ ๘๕ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ และปีการศึกษา ๒๕๕๙ จากสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ ๓
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้รูปแบบดังนี้
ด้านโครงสร้างในการบริหารงาน(Structure) มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = ๔.๖๒)
ด้านกลยุทธ์ (Strategy) มีความพึงพอใจในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = ๔.๐๓)
ด้านระบบ (System) มีความพึงพอใจในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย = ๓.๙๑)
ด้านผู้นำ (Style)มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = ๔.๕๓)
ด้านทีมงาน (Staff) มีความพึงพอใจในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย = ๔.๑๐)
ด้านทักษะ (Skills) มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = ๔.๒๘)
ด้านค่านิยมร่วม (Share Value) มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = ๔.๒๔)
ข้อเสนอแนะ
๑. ควรมีการพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่อง
๒. ควรมีการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานด้านวิชาการอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ