ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความตระหนักเพื่อส่งเสริมการ
ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย วนิดา ถังทอง
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 1 ทรงพลวิทยา
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความตระหนักเพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 1 ทรงพลวิทยา เทศบาลเมืองบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความตระหนักเพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความตระหนักเพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความตระหนักเพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความตระหนักเพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาล 1 ทรงพลวิทยา เทศบาลเมืองบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลาก 1 ห้องเรียนจากนักเรียนทั้งหมด 3 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอน ตามทฤษฎีการสร้างความตระหนักเพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความตระหนัก และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความตระหนักเพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่นักเรียนต้องการ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ ต้องการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความตระหนักเพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพราะนักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง บรรยากาศในการเรียนสนุกสนาน ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาด้วยตัวเองและผู้สอนเป็นผู้แนะนำช่วยเหลือผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอน ควรมีหลากหลายไม่น่าเบื่อ รูปภาพสื่อความหมายได้ตรงกับเนื้อเรื่อง และมีสีสันสดใสเพื่อดึงดูดความสนใจ ของนักเรียน สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองเป็นการท้าทายความสามารถของนักเรียน
2. การพัฒนารูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยใช้ชื่อเรียกว่า MLPACE Model มีองค์ประกอบ คือใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความตระหนักเพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนเทศบาล 1 ทรงพลวิทยา ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอนได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นแรงจูงใจ (Motivation) 2) ขั้นเรียนรู้ (Learning) 3) ขั้นนำเสนอคำอธิบาย (Practice) 4) ขั้นนำไปใช้ (Applying) 5) ขั้นสรุป (Conclusion) 6) ขั้นประเมินผล (Evaluation) ผลจากการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ด้านสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมและวัฒนธรรมผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมต้องการให้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎี การสร้างความตระหนักเพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้อย่างมีความสุข เพราะมีการเรียนรู้จากสื่อที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ควบคู่กับกิจกรรมกลุ่ม และการทำแบบฝึกหัด บทเรียนมีภาพสีสันสดใส มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายไม่น่าเบื่อพร้อมทั้งให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความตระหนัก เพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 แบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 78.10/76.67 ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 แบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) เท่ากับ 80.32/78.89 และจากการทดลองภาคสนามประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎี การสร้างความตระหนักเพื่อส่งเสริมการดำรง ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเท่ากับ 82.67/82.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความตระหนัก เพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คนได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.14/83.67 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความตระหนักเพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความตระหนักเพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนมีความตระหนักในการดำรงชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทุกข้อมีผลการประเมินในระดับมาก และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความตระหนักเพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก