บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานผลการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านไม้ลุงขนมิตรภาพที่ ๑๖๙ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
รายงานผลการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชน บ้านไม้ลุงขนมิตรภาพที่ ๑๖๙ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 มีวัตถุประสงค์ ในการประเมินเพื่อประเมินด้านบริบทหรือด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการเพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และเพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการทั้งนี้เพื่อนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงการดำเนินงานโครงการ โดยศึกษาจากกลุ่มประชากรทั้งหมด จำนวน 344 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 23 คน และนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 321 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 4 ฉบับ เพื่อสอบถามกลุ่มประชากรดังกล่าว โดยใช้กรอบการประเมินแบบ CIPP Model ของ Stufflebeam วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สามารถสรุปผลการประเมิน ได้ดังนี้
1. การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ผลการประเมินพบว่า อยู่ในระดับดี มากที่สุด โดยค่าเฉลี่ยสูงสุดสองอันดับแรกได้แก่ วัตถุประสงค์มุ่งประโยชน์ต่อนักเรียน โรงเรียน และชุมชน รวมทั้งวัตถุประสงค์และเป้าประสงค์ของโรงเรียนมีความชัดเจน ตามลำดับ
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)ผลการประเมิน อยู่ในระดับดี มากที่สุด โดยค่าเฉลี่ยสูงสุดสองอันดับแรกได้แก่ ผู้บริหาร ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความกระตือรือร้นในการทำงาน และผู้บริหาร ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ ตามเป้าประสงค์โครงการ ตามลำดับ
3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ผลการประเมิน อยู่ในระดับดีมาก โดยค่าเฉลี่ยสูงสุดสองอันดับแรกได้แก่ มีแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ และกำหนดขั้นตอนตามมาตรการการดำเนินงานชัดเจน ตามลำดับ
4. การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ผลการประเมินพบว่าอยู่ในระดับ ดีมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามมาตรการรายด้านดังนี้ 1) ด้านการป้องกัน ค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ มีคณะกรรมการห้องเรียนสีขาว เป็นแกนนำ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในห้องเรียน 2) ด้านการค้นหา ค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ นักเรียนได้รับการคัดกรองจำแนกเป็นกลุ่มปลอด กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ กลุ่มติด กลุ่มค้า ภายในโรงเรียน 3) ด้านการรักษา ค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ผู้ปกครองเข้าใจและให้ความร่วมมือในการร่วมกันแก้ไขปัญหาพฤติกรรมนักเรียน 4) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการเฝ้าระวัง ปราบปราม การแพร่ระบาดปัญหายาเสพติดและอบายมุขภายในสถานศึกษา และ5) ด้านการบริหารจัดการ ค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ โรงเรียนมีระบบการติดตามและประเมินผลการป้องกันและแก้ปัญหา อย่างมีประสิทธิภาพ
5. การประเมินผลโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขในภาพรวมจากการประเมินทั้ง 4 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านบริบท (Context Evaluation) และด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ตามลำดับ