การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ใบตอง เพื่อพัฒนาการฝึกทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
(งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ใบตอง เพื่อพัฒนาการฝึกทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ใบตอง เพื่อพัฒนาการฝึกทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาทักษะการปฏิบัติประดิษฐ์งานใบตอง ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ใบตอง เพื่อพัฒนาการฝึกทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ใบตอง เพื่อพัฒนาการฝึกทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาล
ศรีรัตนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 26 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ใบตอง เพื่อพัฒนาการฝึกทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้เอกสารประกอบการเรียน จำนวน 7 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวมเวลา 14 ชั่วโมง และอีก
2 ชั่วโมงเป็นการปฐมนิเทศ ทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน รวมใช้เวลาทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสังเกตทักษะการปฏิบัติประดิษฐ์งานใบตอง และ 5) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ซึ่งได้ดำเนินการทดลองแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group Pretest-Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent group)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ใบตอง เพื่อพัฒนาการฝึกทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.75/89.74 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ใบตอง เพื่อพัฒนาการฝึกทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติประดิษฐ์งานใบตองหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ใบตอง เพื่อพัฒนาการฝึกทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด
มีคะแนนเฉลี่ย 4.92 เท่ากับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.27
4. นักเรียนมีความพึงพอใจที่ได้เรียนเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ใบตอง เพื่อพัฒนาการฝึกทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนมากที่สุด โดยรวมเฉลี่ย 4.84 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสื่อและอุปกรณ์ในการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย 4.88 รองลงมาคือ ด้านเนื้อหา มีค่าเฉลี่ย 4.87 ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย 4.85 และด้านการวัดและประเมินผล มีค่าเฉลี่ย 4.75 ตามลำดับ