ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญของปัญหำ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัฒน์ของปัจจุบันส่งผลให้สังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและ ต่อเนื่อง การศึกษาจึงเป็นรากฐานที่ส าคัญอันจะรองรับความเจริญก้าวหน้าและแก้ปัญหาต่างๆ ใน สังคมเพื่อช่วยให้คนพัฒนาตนเอง ด ารงและประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุขรู้ทันการเปลี่ยนแปลง รวมพลังสร้างสรรค์การพัฒนาประเทศได้อย่างยังยืนตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 หมวด 4 มาตรา 22-24 ได้กล่าวถึงแนวทางในการจัดการศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุก คนสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้โดยจัดการการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย กระบวนการจัดการศึกษาส่งเสริม ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพเน้น ความส าคัญ ทั้งความรู้ คุณธรรมกระบวน การเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสม สอดคล้องกับ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้จัดการเรียนรู้ด้วยวิธีที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียน เป็นส าคัญเน้นการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง การเรียนรู้ด้วยตนเองการเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้ตามธรรมชาติ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังช่วยพัฒนาให้แต่ละบุคคลเป็นคนที่สมบูรณ์เป็นพลเมืองดี เพราะคณิตศาสตร์ช่วยเสริมสร้างความมีเหตุผล ความเป็นคนช่างคิดช่างริเริ่มสร้างสรรค์ มีระบบ ระเบียบในการคิดมีการวางแผนในการท างาน มีความสามารถในการตัดสินใจ มีความรับผิดชอบต่อ กิจการงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนมีลักษณะของความเป็นผู้น าในสังคม (ส านักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2557) แม้ว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความส าคัญอย่างยิ่งที่กล่าว มา แต่สภาพการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากวิชา คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ใช้ทักษะ เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับนามธรรม ยากต่อการการอธิบาย และยกตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจน ครูส่วนใหญ่มักประสบปัญหาว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่นักเรียน เข้าใจยาก น่าเบื่อและไม่ชอบเรียนเป็นผลให้นักเรียนมีผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่ า อาจมีสาเหตุมา จากหลายประการ เช่นเด็กเรียนช้า บางคนขาดเรียนบ่อย บางคนขาดแรงจูงใจ ขาดความพร้อม ไม่มีสมาธิ ขาดสิ่งสนับสนุน ไม่มีวิธีการ สื่อเครื่องมือไม่น่าสนใจหรืออาจไม่ได้ฝึกปฏิบัติตามล าดับ จากง่ายไปหายาก ฯลฯ (กระทรวงศึกษาธิการ. 25551 : 35-45) ในส่วนของการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของประเทศไทยนั้น พบว่ายังไม่บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่ก าหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2
พุทธศักราช 2551 จะเห็นได้จากรายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ (O-NET) ปี การศึกษา 2559 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระที่ 1 จ านวน และการด าเนินการ ในระดับระดับประเทศ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 44.15 (ส านักทดสอบทาง การศึกษา. 2559 : 6) และจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน ชุมชนนาจารย์วิทยา ต าบลนาจารย์ อ าเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2557 ได้คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 53.61 ปีการศึกษา 2558 ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 66.54 ซึ่งเป็นคะแนนเฉลี่ยที่ต่ ากว่าเกณฑ์ ชั้นต่ าที่ทางโรงเรียนก าหนดไว้ คือ ร้อยละ 80 และจากผลการรายงานผลการประเมินคุณภาพ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนชุมชนนาจารย์วิทยา รายวิชาคณิตศาสตร์ สาระที่ 1 จ านวนและด าเนินการ เรื่อง การนับ การบวก การลบ และบวก ลบระคน ได้คะแนนเฉลี่ย 68.23 (สุกัญญา เกษมเศรษฐ, 2559) ผลการประเมินชี้ให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับต่ ากว่าเกณฑ์ไม่เป็นที่น่าพอใจ อาจมีสาเหตุมาจากการ จัดการเรียนการสอนในรายวิชาคณิตศาสตร์ดังกล่าวยังขาดเครื่องมือที่จะใช้ฝึกทักษะการนับ การบวก การลบ และบวก ลบระคน ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนมีการใช้เฉพาะหนังสือเรียนที่ ระบุตัวอย่าง และแบบฝึกหัดไว้ในบทเรียนเท่านั้น นอกจากนี้นักเรียนไม่มีสมาธิต่อการเรียน มีปัญหา พื้นฐานการคิด การนับ การบวก การลบ และบวก ลบระคน รวมไปถึงการวิเคราะห์แก้โจทย์ปัญหา ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต่ า การใช้แบบฝึกทักษะเป็นวิธีแก้ปัญหาวิธีหนึ่ง ที่จะท าให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ บรรลุวัตถุประสงค์เพราะแบบฝึกทักษะได้แบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วยย่อยโดยการเรียงล าดับเนื้อหาจาก ง่ายไปหายาก และมีตัวอย่างที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาดียิ่งขึ้นเพราะผู้เรียนสามารถ สร้างกระบวนการเรียนของตนเอง ผู้เรียนจะไม่ประสบความส าเร็จและไม่สามารถแก้ปัญหาได้ถูกต้อง แม่นย า ถ้าไม่มีการฝึกทักษะ (วรรณนี โรจน์หัสดิน, 2552) การฝึกทักษะยังช่วยให้ครูด าเนินการ ปรับปรุงแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้ทันท่วงที ทราบข้อบกพร่องของนักเรียนแต่ละคนและเป็นการ ประหยัดเวลา นักเรียนมีเวลาและโอกาสฝึกฝนมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยของ เสาวณี บุญหลง (2559) ได้ศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกจ านวนสองจ านวน ที่ผลบวกไม่เกิน 9 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ซึ่งมีความ สอดคล้องกับงานวิจัยของ วรรณนี โรจน์หัสดิน (2552); วราพร จงนุช (2556); ศักดิ์ชาย ขวัญสิน (2558); ชัชฎาพร นิลทัย (2559) จากความส าคัญและปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นท าให้ผู้ศึกษามีความสนใจที่จะพัฒนาแบบฝึก ทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การนับ การบวก การลบ และบวก ลบระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อให้ นักเรียนมีทักษะทางคณิตศาสตร์ในเรื่องดังกล่าวที่ดีขึ้น และที่ส าคัญแบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้นสามารถ
3
ท าให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สูงขึ้น โดยก่อให้เกิดทักษะพื้นฐานที่ดี ต่อการศึกษาคณิตศาสตร์ขั้นสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ าวันได้ นอกจากนี้การจัดการเรียนรู้ต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการ เรียนรู้คณิตศาสตร์ ครูต้องจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้มีโอกาแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง โดย ปลูกฝังให้นักเรียนรุ้จักใช้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของ ผู้เรียน เพื่อเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ (ชัยวัฒน์ จัตุกูล, มาลิณี จุโฑปะมา, ประคอง กาญจน การุณ, 2558) ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์จ าเป็นต้องให้ผู้สอนใช้จิตวิทยาในการสอน ที่ดี อีกทั้งจะต้องรู้จักการใช้แบบฝึกหัด การบ้าน และการสอนซ่อมเสริม หรือแบบฝึกทักษะที่ดีอีก ด้วย จึงจะท าให้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ มีความสุขในการเรียน สามารถพัฒนาตนเองได้ อย่างเต็มศักยภาพ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น อันจะช่วยให้ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
วัตถุประสงค์กำรศึกษำ
1. เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การนับ การบวก การลบ และบวก ลบ ระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การนับ การบวก การลบ และบวก ลบระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียน ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การนับ การบวก การลบ และบวก ลบระคน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การนับ การบวก การลบ และบวก ลบระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ขอบเขตกำรศึกษำ
1. ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง 1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียน ในสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ได้แก่ โรงเรียนชุมชนนาจารย์วิทยา จ านวน 1 ห้อง จ านวน 21 คน และโรงเรียนดงพยงุสงเคราะห์ จ านวน 2 ห้อง จ านวน 43 คน รวมนักเรียน 64 คน
4
1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของ โรงเรียนในสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ได้แก่ โรงเรียนชุมชนนาจารย์วิทยา จ านวน 1 ห้อง จ านวน 21 คน ซึ่งก าหนด กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
2. ตัวแปรที่ศึกษำ มีดังนี้ 2.1. ตัวแปรอิสระ คือ การเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การนับ การบวก การลบ และบวก ลบระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2.2. ตัวแปรตาม คือ 2.2.1 ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การนับ การบวก การลบ และบวก ลบระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2.2.2 ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การนับ การบวก การลบ และบวก ลบระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2.2.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ คณิตศาสตร์ เรื่อง การนับ การบวก การลบ และบวก ลบระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2.2.4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การนับ การบวก การลบ และบวก ลบระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
3. เนื้อหำในกำรวิจัย เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่เนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระที่ 1 จ านวนและด าเนินการ เรื่อง การนับ การบวก การลบ และบวก ลบระคน ส าหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของ กระทรวงศึกษาธิการ โดยแบ่งออกเป็น 9 แบบฝึกทักษะ ดังนี้ แบบฝึกทักษะที่ 1 จ านวนนับ 1 ถึง 5 และ 0 แบบฝึกทักษะที่ 2 จ านวนนับ 6 ถึง 9 แบบฝึกทักษะที่ 3 การบวกจ านวนนับสองจ านวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 แบบฝึกทักษะที่ 4 การลบจ านวนนับสองจ านวนที่มีตัวตั้งไม่เกิน 9 แบบฝึกทักษะที่ 5 จ านวนนับ 10 ถึง 20 แบบฝึกทักษะที่ 6 การบวกจ านวนนับที่มีผลบวกไม่เกิน 20 และการลบจ านวนนับที่มี ตัวตั้งไม่เกิน 20 แบบฝึกทักษะที่ 7 จ านวนนับ 21 ถึง 100
5
แบบฝึกทักษะที่ 8 การบวกจ านวนนับที่มีผลบวกไม่เกิน 100 และการลบจ านวนนับที่ มีตัวตั้งไม่เกิน 100 แบบฝึกทักษะที่ 9 การบวก ลบระคน และโจทย์ปัญหาระคน นิยำมศัพท์เฉพำะ
1. แบบฝึกทักษะ หมายถึง สื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่ง เพื่อน ามาให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติ เพื่อใช้ประกอบกับการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ จากการปฏิบัติด้วยตนเอง ได้ฝึกทักษะเพิ่มเติมจากเนื้อหาโดยครูเป็นผู้แนะน า ช่วยเพิ่มพูนความรู้แก่ นักเรียน 2. การเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ หมายถึง รายละเอียดขั้นตอนการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยครูผู้สอนน าเสนอแนวความคิดรวบยอดของเนื้อหา และให้นักเรียนฝึกปฏิบัติ เสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะ 3. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ หมายถึง คุณภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้นและมี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เกณฑ์ 80 ตัวแรก หมายถึง ประสิทธิภาพของกระบวนการ ซึ่งเป็นค่าร้อยละของ คะแนนเฉลี่ยจากการท าแบบฝึกทักษะท้ายหน่วยการเรียนของนักเรียนทั้งกลุ่ม ถ้าค านวณออกมาแล้ว ไม่ต่ ากว่าร้อยละ 80 เกณฑ์ 80 ตัวหลัง หมายถึง ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ซึ่งเป็นค่าร้อยละของคะแนน เฉลี่ยจากการท าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (Post-test) ของผู้เรียนทุกคนถ้า ค านวณออกมาแล้วไม่ต่ ากว่าร้อยละ 80 4. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ หมายถึง ค่าที่แสดงความก้าวหน้าทางการเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การนับ การบวก การลบ และบวก ลบ ระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ซึ่งการเปรียบเทียบคะแนนที่เพิ่มขึ้นจากการทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน 5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่นักเรียนท าข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลัง การเรียนได้ถูกต้องจากการท าแบบทดสอบจากการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การนับ การบวก การลบ และบวก ลบระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 6. ความพึงพอใจ หมายถึง ความคิดเห็น ความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียน การสอน โดยการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การนับ การบวก การลบ และบวก ลบระคน ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และประเมินความพึงพอใจโดยการตอบแบบสอบถาม
6
ประโยชน์ที่ได้รับจำกกำรศึกษำ
1. การศึกษาครั้งนี้ท าให้ได้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การนับ การบวก การลบ และ บวก ลบระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งท าให้ครูมีสื่อและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพไปใช้ใน การจัดการเรียนรู้ และท าให้นักเรียนสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น 2. แบบฝึกทักษะที่สร้างขึ้นสามารถใช้เป็นแบบอย่าง สามารถอ้างอิงหรือเป็นแบบในการที่ จะให้ครูน าไปปฏิบัติ หรือเป็นแนวทางในการสร้างแบบฝึกทักษะ ส าหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป หรือแม้กระทั่งกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ของตนและคณะครูอื่น ๆ ต่อไป 3. เป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อการเรียนแบบฝึกทักษะ การน าแบบฝึกทักษะไปใช้ รวมทั้ง การสอนที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้นต่อไป