การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียน
แบบสุภัทร (SUPHAT Model) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 โรงเรียนแกลง "วิทยสถาวร" จังหวัดระยอง (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” จังหวัดระยอง ที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการ
ชั้นเรียน แบบสุภัทร (SUPHAT Model) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแกลง "วิทยสถาวร" จังหวัดระยอง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแกลง
“วิทยสถาวร” จังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 7 ห้องเรียน รวม 289 คน ได้มาจากประชากร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ห้องเรียน รวม 394 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยรูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียน
แบบสุภัทร (SUPHAT Model) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 โรงเรียนแกลง "วิทยสถาวร" จังหวัดระยอง โดยมีองค์ประกอบการบริหารจัดการ 6 ด้าน ดังนี้
ด้านที่ 1 S=Satisfaction ความพึงพอใจ ด้านที่ 2 U= Unity ความเท่าเทียม ความเป็นเอกภาพ
ด้านที่ 3 P= participation การมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์ ด้านที่ 4 H= Heroes การเป็นผู้นำ ผู้กล้า ด้านที่ 5 A= Achievement การมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ด้านที่ 6 T= Traditional การเป็นผู้มีวัฒนธรรม
และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยผ่านการตรวจสอบจากครูผู้เชี่ยวชาญ และหาค่าดัชนี-
ความสอดคล้อง (IOC) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ได้รูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียน แบบสุภัทร (SUPHAT Model)
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแกลง
"วิทยสถาวร" จังหวัดระยองที่มีดัชนีการประเมินคุณภาพรูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียน
โดยผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับดีมาก
2. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้รูปแบบการบริหาร
จัดการชั้นเรียน แบบสุภัทร (SUPHAT Model) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแกลง "วิทยสถาวร" จังหวัดระยอง โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด