บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านมะกอกใต้(มุขประชาอุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2560 ตามรูปแบบการประเมินซิปป์โมเดล (CIPP Model) โดยประเมินเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านสภาพแวดล้อมหรือบริบทของโครงการ (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) ด้านกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ (1) ปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรด้านบุคคล ทรัพยากรด้านการเงิน ทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์ และทรัพยากรด้านการจัดการ (2) การมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาและ(3) ความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วมที่มีต่อการดำเนินโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบบันทึกปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรด้านบุคคล ทรัพยากรด้านการเงิน ทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์ และทรัพยากรด้านการจัดการและแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ โดยสอบถามจากประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านมะกอกใต้(มุขประชาอุปถัมภ์) ปีงบประมาณ 2560 ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านสภาพแวดล้อม พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.62, S.D. = 0.52) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านมะกอกใต้(มุขประชาอุปถัมภ์) ปีงบประมาณ 2560 ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D. = 0.51) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านมะกอกใต้(มุขประชาอุปถัมภ์) ปีงบประมาณ 2560 ตามความคิดเห็นของครูผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านกระบวนการ พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.51) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านมะกอกใต้(มุขประชาอุปถัมภ์) ปีงบประมาณ 2560 ด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1 ปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ได้แก่ ทรัพยากรด้านบุคคล ทรัพยากรด้านการเงิน ทรัพยากรด้านวัสดุและอุปกรณ์ และทรัพยากรด้านการจัดการ จากการบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงทั้ง 4 ด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 การมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ตามความเห็นของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.53) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ผู้ปกครองที่มี
ต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านมะกอกใต้(มุขประชาอุปถัมภ์) ปีงบประมาณ 2560 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.51) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากร ทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านมะกอกใต้ (มุขประชาอุปถัมภ์) ปีงบประมาณ 2560 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.51) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรนำผลการประเมินไปวิเคราะห์รายละเอียดของผลการดำเนินงานว่ามีจุดเด่น จุดด้อยอย่างไรบ้าง เพื่อนำไปปรับปรุง พัฒนารูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาครั้งต่อไป ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษามากยิ่งขึ้น
1.2 ควรกำหนดภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน ให้ครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องมากที่สุด
1.3 ควรนำผลการดำเนินงานโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านมะกอกใต้(มุขประชาอุปถัมภ์) ปีงบประมาณ 2560 เผยแพร่ในวงกว้างเพื่อที่จะให้เป็นแบบอย่างให้โรงเรียนที่อยู่ในบริบทที่คล้ายคลึงกัน
2. ข้อเสนอในการประเมินครั้งต่อไป
2.1 ให้มีการประเมินผลการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อให้เกิด ความคุ้มค่ากับการลงทุนทางการศึกษาของรัฐ และเกิดความเสมอภาค
2.2 ให้มีการศึกษาและประเมินความต้องการจำเป็นของทรัพยากรทางการศึกษาเป็นรายด้านเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมกับขนาดของโรงเรียน