ผู้วิจัย นางเกดแก้ว บุทธิจักร
โรงเรียน ทีโอเอวิทยา (เทศบาล ๑ วัดคำสายทอง) กองการศึกษา เทศบาลเมืองมุกดาหารจังหวัดมุกดาหาร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 ที่ 80/80 และมีดัชนีประสิทธิผล ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป (3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล ๑ วัดคำสายทอง) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการจับสลากเลือกมา 1 ห้องเรียน เนื่องจากนักเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมุกดาหารมีการจัดนักเรียนเข้าชั้นเรียนแบบคละกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.20-0.80 มีค่าอำนาจจำแนก 0.20 ขึ้นไป และมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.89 (3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ ค่าที t- test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1.1 ผลศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง ทั้งแบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสัมภาษณ์ จากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความสอดคล้อง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.00 ทุกรายการ มีรายละเอียดดังนี้
1) แบบวิเคราะห์เอกสาร พบว่า แนวนโยบายการจัดการศึกษาของพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแนวทางการจัดการศึกษา ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รวมทั้งนโยบาย เป้าหมายในการจัดการศึกษาของโรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล ๑ วัดคำสายทอง) และเทศบาลเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้แก่ การพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นพื้นฐานของการเรียนในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งควรได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน เพราะจากที่ผ่านมานักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำ ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินที่โรงเรียนและเทศบาลเมืองมุกดาหารกำหนดไว้ และการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง ให้เหมาะสมกับระดับชั้นเรียน
2) วิเคราะห์ผลการสัมภาษณ์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ครูสังกัดกลุ่ม
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และครูสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 พบว่า มีความคิดเห็นค่อนข้างสอดคล้องกัน เกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์ ให้มีระดับที่ดีขึ้น โดยกำหนดให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยวิธีการและเทคนิคการสอนที่หลากหลาย และควรพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เป็นแนวคิดที่เน้นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ความรู้ขึ้นเอง องค์ประกอบหลักของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมาโดยอาศัยความรู้เดิมเป็นฐาน เมื่อสร้างความคิดขึ้นใหม่แล้วครูผู้สอนจะให้ตรวจสอบหรือประเมินความรู้ เมื่อเกิดความเข้าใจกันเองชัดเจนและพอใจกับความรู้ใหม่นั้น แล้วให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ หรือเสนอแนวคิดทางการใช้ความรู้ใหม่ สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ ที่ทำให้ผู้เรียนได้เกิดการคิด และใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการค้นพบความรู้หรือประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีความหมายด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีการคิดวิเคราะห์ ตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่เรียน ส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
1.2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
1) ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฏีจากเอกสาร หนังสือ ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วสังเคราะห์ พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดผลและประเมินผล โดยกิจกรรมการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นกำหนดปัญหาสร้างความขัดแย้งทางปัญญา ขั้นที่ 2 กิจกรรมไตร่ตรองแนวทางแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 ลงมือสร้างสถานการณ์ปัญหา ขั้นที่ 4 สรุปผลการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา
2) ผลการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนมีระดับความสอดคล้อง 1.00 มีคุณภาพระดับมาก และ แผนการจัดการเรียนรู้ มีคุณภาพระดับมาก
3) ผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.74/8211 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
4) ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index : E.I.) ของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยนำไปทดลองแบบภาคสนาม (Field Testing) พบว่า มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.66
1.3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
1) ผลการทดลองหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.52/8437 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2) ผลการทดลองหาค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index : E.I.) ของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.80
3) ผลการทดลองหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน
4) ผลการทดลองหาความสามารถการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน
5) ผลการทดลองหาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
1.4 ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนและหลังเรียน ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (X- = 4.33,
S.D. = 0.48)