บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่านจับใจความ กลุ่ม
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐
๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนภายหลังการใช้แบบฝึก
เรื่อง การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๔ โรงเรียนวัดเขา (วันครู
๒๕๐๑) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต ๔ และ ๓) เพื่อศึกษาความ
คิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึก เรื่อง การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น
ปีที่ ๔ หลังการใช้ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ โรงเรียนวัดเขา (วันครู ๒๕๐๑) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Simple) จำนวน
๒๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ๑) แบบฝึก เรื่อง การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๑๕ แบบฝึก ๒) คู่มือการใช้แบบฝึก เรื่อง การอ่านจับ
ใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ (แผนการจัดการเรียนรู้) จำนวน ๓ แผน
๓) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน (Pretest- Posttest)อย่างละ ๒๐ ข้อ ๔) แบบสอบถามความพึง
พอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อแบบฝึกเรื่อง การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
จากการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพระหว่างและหลังเรียนของการใช้แบบฝึก เรื่อง การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ (E๑/E๒) เท่ากับ ๘๓.๕๖ /๘๕.๘๐ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ๘๐/๘๐ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของคะแนนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการใช้แบบฝึก ก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ย = ๖.๖๑ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = ๑.๒๓ หลังเรียน มีค่าเฉลี่ย = ๒๖.๘๗ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = ๑.๖๐ และร้อยละของการเพิ่มขึ้นของผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย = ๓๔.๒๐ โดยระหว่างก่อนและหลังใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .๐๕ นั่นคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างชัดเจน ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบหลังเรียนของแบบฝึก เท่ากับ ๐.๕๒ อยู่ในเกณฑ์เชื่อมั่นได้ ความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบหลังเรียนของแบบฝึก มีค่าเฉลี่ยความยากง่าย (P) ของแบบทดสอบเฉลี่ยเท่ากับ ๐.๓๖ และค่าเฉลี่ย อำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบเฉลี่ยเท่ากับ ๐.๓๓ ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง ๐.๒๐ ถึง ๐.๘๐ มีความหมายว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อแบบฝึก เรื่องการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย = ๔.๘๕ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = ๐.๓๕โดย มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจเท่ากับ ๐.๗๔๑