บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : รายงานผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยใช้สื่อของจริง
ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเมือง (ป่าปุ๊มิตรภาพที่ 29)
ชื่อผู้ศึกษา : นางสาวชุธิศา เล่อกา
ปีการศึกษา : 2560
ในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการศึกษาผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ระหว่างการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ จากสื่อของจริง ทั้งรายด้านและภาพรวมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และเพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ จากสื่อของจริง ทั้งรายด้านและภาพรวมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเมือง (ป่าปุ๊มิตรภาพที่ 29) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 จำนวน 16 คน มีวิธีดำเนินการศึกษาครั้งนี้ คือ ทำการทดสอบก่อนดำเนินการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ จากสื่อของจริง ที่ผู้ศึกษาเป็นผู้สร้างขึ้น จำนวน 30 แผน ใช้เวลาดำเนินการจัดกิจกรรม 10 สัปดาห์ และเมื่อดำเนินการจัดกิจกรรมครบ 30 แผนแล้ว ดำเนินการทดสอบอีกครั้งหนึ่ง จากแบบทดสอบฉบับเดิม หลังการจัดกิจกรรม เก็บรวบรวมจากผลการจัดกิจกรรม แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย (μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และค่าร้อยละ
ผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย จากการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ จากสื่อของจริง ขอสรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ระหว่างการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์จากสื่อของจริง พบว่า ผลการพัฒนาทักษะทั้งในด้านได้แก่ ด้านการบอกหรือแสดงจำนวน 1-10 ด้านการจำแนกเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่/จัดกลุ่ม การบอกหรือแสดงตำแหน่งและภาพรวมทักษะพื้นฐานทั้ง 4 ด้าน ทางคณิตศาสตร์
โดยเริ่มจากสัปดาห์แรกที่มีการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์จากสื่อของจริง พร้อมกลับมีการประเมินพฤติกรรมด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งหลายด้านและภาพรวม ผลการประเมินพฤติกรรมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปรับปรุงทุกด้าน คือ ด้านการบอกหรือแสดงค่าจำนวน 1-10 ด้านการจำแนกเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่หรือจัดกลุ่ม ด้านการบอกหรือการแสดงตำแหน่ง และภาพรวมทักษะ (1.19,1.63,1.00,1.17 และ 1.12 ตามลำดับ) จากนั้นก็มีการจัดกิจกรรมตามแผน 30 แผน และมีการประเมินพฤติกรรมผลประเมินวิเคราะห์เป็นช่วงสัปดาห์ 10 ช่วง ปรากฏว่า มีผลพัฒนาดีขึ้นจนถึงสัปดาห์สุดท้ายทุกทักษะและโดยภาพรวม ผลการประเมินโดยเฉลี่ยของเด็กอยู่ในระดับดีสัปดาห์ที่ 10 (2.94,2.96,2.94,2.94 และ 2.94 ตามลำดับ) สำหรับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่มีการพัฒนาดีขึ้นมากได้แก่ ด้านการจำแนกเปรียบเทียบ (2.94 - 1.00 = 1.94) มีเพียงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ไม่มีพัฒนาดีขึ้นกลับลดลง คือ ทักษะทางการบอกหรือแสดงตำแหน่งในสัปดาห์ที่ 4 (1.85 - 1.77 = 0.08) แสดงว่าการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์จากสื่อของจริง ทำให้ผลการพัฒนาดีขึ้นตลอดเวลาที่มีการจัดกิจกรรมทั้งรายด้านและภาพรวม
2. ผลการเปรียบเทียบพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์จากสื่อของจริง พบว่าทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้แก่ ทุกด้านและภาพรวม มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ได้แก่ ทักษะด้านบอกหรือแสดงค่าจำนวน 1-10 ก่อนจัดกิจกรรมผลการทดสอบโดยเฉลี่ย(μ) = 3.88 หลังการจัดกิจกรรมผลการทดสอบโดยเฉลี่ย(μ) 4.82 คะแนนมีความแตกต่างกัน (4.82 - 3.88 = 0.94) คิดเป็นร้อยละ 18.75 ทักษะด้านการจำแนกเปรียบเทียบก่อนการจัดกิจกรรม ผลการทดสอบโดยเฉลี่ย (μ) ของเด็ก 3.50 คะแนน หลังการจัดกิจกรรมผลการทดสอบโดยเฉลี่ย (μ) ของเด็ก 4.84 คะแนน มีความแตกต่างกัน (4.84 - 3.50 = 1.31 คะแนน) คิดเป็นร้อยละ 26.25 ด้านการจัดหมวดหมู่หรือจัดกลุ่ม ก่อนการจัดกิจกรรม ผลการทดสอบโดยเฉลี่ย (μ) ของเด็ก 3.13 คะแนน หลังการจัดกิจกรรมผลการทดสอบโดยเฉลี่ย (μ) ของเด็ก 5.00 คะแนน มีความแตกต่างกัน (5.00 - 3.13 = 1.88 คะแนน) คิดเป็นร้อยละ 37.50 ทักษะด้านการบอกหรือแสดงตำแหน่ง ก่อนการจัดกิจกรรม ผลการทดสอบโดยเฉลี่ย (μ) ของเด็ก 3.06 คะแนน หลังการจัดกิจกรรมผลการทดสอบโดยเฉลี่ย (μ) ของเด็ก 4.69 คะแนน มีความแตกต่างกัน (4.69 - 3.06 = 1.88 คะแนน) คิดเป็นร้อยละ 32.50 สำหรับในภาพรวมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนการจัดกิจกรรมผลการทดสอบโดยเฉลี่ย (μ) ของเด็ก 3.39 คะแนน หลังการจัดกิจกรรมผลการทดสอบโดยเฉลี่ย (μ) ของเด็ก 4.83 คะแนน มีความแตกต่างกัน (4.83 - 3.39 = 1.44 คะแนน) คิดเป็นร้อยละ 28.75 แสดงว่ามีการพัฒนาทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์จากสื่อของจริง ทำให้ผลการพัฒนาดีขึ้น ทุกพฤติกรรมและภาพรวม