ชื่อรายงานการวิจัย การพัฒนาความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่สำหรับเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมกลางแจ้ง
ผู้วิจัย นางสาวฉัตรชนก พุ่มพวง
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนาความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่จากการจัดกิจกรรมกลางแจ้งของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 และเพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่จากการจัดกิจกรรมกลางแจ้งของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนปฐมวัยอายุระหว่าง 4-5 ปี จำนวน 8 คน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านวังน้ำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กำแพงเพชร เขต 2 โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง และแบบประเมินการพัฒนาความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่
ผลการวิจัยพบว่า1.ผลการพัฒนาความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่จากการจัดกิจกรรมกลางแจ้งของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 28 กิจกรรม นักเรียนจำนวน 8 คน พบว่า นักเรียนคนที่ 2 มีผลการพัฒนาความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่จากการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 13.26 คิดเป็นร้อยละ 94.76 รองลงมาคือนักเรียนคนที่ 3และคนที่ 7 มีผลการพัฒนาความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่จากการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 13.13 คิดเป็นร้อยละ 93.80 นักเรียนคนที่ 8 มีผลการพัฒนาความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่จากการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 12.96 คิดเป็นร้อยละ92.61นักเรียนคนที่ 5 มีผลการพัฒนาความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่จากการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 12.86 คิดเป็นร้อยละ 91.90 นักเรียนคนที่ 1 มีผลการพัฒนาความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่จากการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 12.83 คิดเป็นร้อยละ 91.66 นักเรียนคนที่ 6 และคนที่ 4มีผลการพัฒนาความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่จากการจัดกิจกรรมกลางแจ้งเท่ากัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 12.80 คิดเป็นร้อยละ 91.42 และนักเรียนคนที่ 4 มีผลการพัฒนาความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่จากการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 12.63 คิดเป็นร้อยละ 90.23
2.คะแนนของนักเรียนก่อนใช้กิจกรรมกลางแจ้งด้านความอ่อนตัว ได้ค่า = 8.13 , ค่า S.D = 1.13 คะแนนของนักเรียนหลังใช้กิจกรรมกลางแจ้งด้านความอ่อนตัว ได้ค่า = 14.38, ค่า S.D = 0.74 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent ได้ค่า t = 12.73 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังใช้กิจกรรมกลางแจ้งด้านความอ่อนตัว พบว่า คะแนนหลังใช้กิจกรรมกลางแจ้งของนักเรียนสูงกว่าก่อนใช้กิจกรรมกลางแจ้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.คะแนนของนักเรียนก่อนใช้กิจกรรมกลางแจ้งด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ได้ค่า = 8.50 , ค่า S.D = 0.76 คะแนนของนักเรียนหลังใช้กิจกรรมกลางแจ้งด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ได้ค่า = 14.25, ค่า S.D = 1.04 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent ได้ค่า t = 10.29 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังใช้กิจกรรมกลางแจ้งด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ พบว่า คะแนนหลังใช้กิจกรรมกลางแจ้งของนักเรียนสูงกว่าก่อนใช้กิจกรรมกลางแจ้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.คะแนนของนักเรียนก่อนใช้กิจกรรมกลางแจ้งด้านความสมดุลของร่างกาย ได้ค่า = 8.75 , ค่า S.D = 0.89 คะแนนของนักเรียนหลังใช้กิจกรรมกลางแจ้งด้านความสมดุลของร่างกาย ได้ค่า = 14.75, ค่า S.D = 0.46 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent ได้ค่า t = 15.87 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังใช้กิจกรรมกลางแจ้งด้านความสมดุลของร่างกาย พบว่า คะแนนหลังใช้กิจกรรมกลางแจ้งของนักเรียนสูงกว่าก่อนใช้กิจกรรมกลางแจ้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05