ชื่อเรื่อง การใช้เทคนิคแผนภูมิความหมาย (Semantic Mapping) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา นายธวัช สุกแสง
หน่วยงาน โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้เทคนิคแผนภูมิความหมาย (Semantic Mapping) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการทดลอง และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เทคนิคแผนภูมิความหมายในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ อาเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ จานวน 37 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 18 ชั่วโมง ไม่รวมการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ใช้แผนการวิจัยแบบ One Group Pretest Posttest Design
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) รูปแบบการใช้เทคนิคแผนภูมิความหมายในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้เทคนิคแผนภูมิความหมายในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จานวน 9 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง 3) คู่มือการใช้เทคนิคแผนภูมิความหมายในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่าน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เทคนิคแผนภูมิความหมายในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ t-test for Dependent Samples
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการใช้เทคนิคแผนภูมิความหมาย (Semantic Mapping) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 79.94/76.22
2. ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เทคนิคแผนภูมิความหมาย (Semantic Mapping) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก