ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนจริง รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวถนอมนวล ชูเชื้อ
สังกัด : โรงเรียนขุขันธ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
สำนักงานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนจริง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนจริง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนน-เชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/12 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนขุขันธ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28 จำนวน 35 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะ จำนวน 8 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 24 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย
ชนิดเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.95 เลือกข้อสอบที่มีอำนาจจำแนกระหว่าง 0.40 ถึง 0.77 แล้วหาคุณภาพแบบทดสอบทั้งฉบับโดยหาค่าความเที่ยง (KR 20) ของแบบทดสอบ มีค่าเท่ากับ 0.91 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test แบบ Dependent sample
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.82/76.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.7206 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 0.60
3. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากและมากที่สุด