ชื่อเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ
ภาษาอังกฤษโดยใช้หลักบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางเบญจมาศ คำดอกรับ
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
รายงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้หลักบูรณาการของเมอร์ดอคซ์ (MIA) ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้หลักบูรณาการของเมอร์ดอคซ์ (MIA) 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้หลักบูรณาการของเมอร์ดอคซ์ (MIA) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโนนอุดมสะอาดวิทยาอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 19 คน รูปแบบการศึกษาทดสอบก่อนและหลังกับกลุ่มเดียว (One group pretest posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผนการเรียน 16 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบฝึกทักษะ แบบบันทึกพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบสังเกตกระบวนการกลุ่ม แบบฝึกทักษะท้ายแผนการเรียนรู้ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และแบบประเมินสมรรถนะของผู้เรียน 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้แก่ แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า
1. ประสิทธิภาพกระบวนการของกิจกรรม (E1) เท่ากับ 84.36 และประสิทธิภาพผลลัพธ์ของกระบวนการของกิจกรรม (E2) เท่ากับ 85.96 ดังนั้น ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้หลักบูรณาการของเมอร์ดอคซ์ (MIA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 84.36 / 85.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้หลักบูรณาการของเมอร์ดอคซ์ (MIA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 0.6098 คิดเป็นร้อยละ 60.98
3. ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าเฉลี่ยหลังการเรียนสูงขึ้น