ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา นายธีรพล พรหมรักษ์
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านควนนา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยผลจากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากนิทานคุณธรรม โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากนิทานคุณธรรม โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านจับใจความของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากนิทานคุณธรรม โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียน บ้านควนนา จำนวน 10 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากนิทานคุณธรรม จำนวน 7 ชุด ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากนิทานคุณธรรม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านจับใจความ
มีลักษณะเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากนิทานคุณธรรม โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ร้อยละ ( Percentage ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที ( t test )
ผลการวิจัย
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากนิทานคุณธรรม โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า แบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.01/82.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. ความสามารถทางการอ่านจับใจความของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย
แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากนิทานคุณธรรม โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีความสามารถทางการอ่านจับใจความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
3. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากนิทานคุณธรรม โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด