ชื่อเรื่อง : รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ทัศนธาตุ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน : นายธเนศ โกวิทย์
หน่วยงาน : โรงเรียนแหลมรังวิทยาคม อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41
ปีที่ทำการศึกษา : 2559-2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ เรื่อง ทัศนธาตุ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ทัศนธาตุ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ทัศนธาตุ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ทัศนธาตุ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนแหลมรังวิทยาคม อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 ภาคเรียน
ที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 22 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ทัศนธาตุ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน 18 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทัศนธาตุ มีลักษณะเป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ที่สร้างขึ้น จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้สูตร t-test Dependent และ E.I
ผลการศึกษาพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ทัศนธาตุ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.71/81.56 มีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6903 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนค่าเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจ
ต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับมาก