ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL
ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน หน่วยการเรียนรู้
ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวเพลินพิศ รุจิราวรรณ
โรงเรียน โรงเรียนปรางค์ทองวิทยา อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา
สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับ การเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทน ในการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยทดลองใช้ชุดฝึกทักษะกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนปรางค์ทองวิทยา อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL หน่วยการเรียนรู้ ความน่าจะเป็น 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x ̅ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t test for Dependent Sample) และการวิเคราะห์เนื้อหา ( Content Analysis )
ผลการวิจัยพบว่า ดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ พบว่า นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องการให้มีการสร้างชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคKWDL หน่วยการเรียนรู้ ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกัน มาทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบร่วมกัน และสามารถทำให้ผู้เรียน คิดวิเคราะห์ที่เป็นขั้นตอนในการแก้ปัญหา โดยสามารถสื่อสาร สื่อความหมาย เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหาและให้เหตุผล ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL ที่มีขั้นตอนในการคิดวิเคราะห์ทำให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาที่เป็นระบบ
2. ได้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งมีเนื้อหา 7 เรื่อง ดังนี้ เนื้อหาที่ 1 เรื่อง กฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ ประกอบด้วยชุดฝึกทักษะ 1 ชุด เนื้อหาที่ 2 เรื่องแฟกทอเรียล ประกอด้วยชุดฝึกทักษะ 1 ชุด เนื้อหาที่ 3 เรื่อง วิธีเรียงสับเปลี่ยน ประกอบด้วยชุดฝึกทักษะ 3 ชุด เนื้อหาที่ 4 เรื่อง วิธีจัดหมู่ ประกอบด้วยชุดฝึกทักษะ 2 ชุด เนื้อหาที่ 5 เรื่อง ทฤษฎีบททวินาม ประกอบด้วยชุดฝึกทักษะ 1 ชุด เนื้อหาที่ 6 เรื่อง ความน่าจะเป็น ประกอบด้วยชุดฝึกทักษะ 3 ชุด และเนื้อหาที่ 7 เรื่อง กฎเกณฑ์ที่สำคัญบางประการของความน่าจะเป็น ชุดฝึกทักษะประกอบด้วย 1) คำชี้แจงเกี่ยวกับชุดฝึกทักษะ 2) คำแนะนำสำหรับครู 3) คำแนะนำสำหรับนักเรียน 4) ผลการเรียนรู้ 5) สาระการเรียนรู้ 6) ใบความรู้ 7) ใบกิจกรรม 8) แบบทดสอบหลังเรียน 9) เฉลยใบกิจกรรมและเฉลยแบบทดสอบหลังเรียน ชุดฝึกทักษะ หน่วยการเรียนรู้ ความน่าจะเป็น ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมมากที่สุด และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.63/82.89 สูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้คือ 80/80
3. ผลการนำชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ความน่าจะเป็น ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปรางค์ทองวิทยา พบว่า นักเรียนมีความกระตือรือร้น สนใจการเรียนโดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความคงทนในการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียน และหลังการเรียนผ่านไป 14 วัน ไม่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ความน่าจะเป็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีการปรับปรุงชุดฝึกทักษะเกี่ยวกับการใช้ภาษาในคำชี้แจง การเสริมแรง ปรับขนาดของภาพให้มีความเหมาะสม ความสอดคล้องของเนื้อหาและใช้ภาพที่น่าสนใจมากขึ้น