บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ โดยใช้กระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้เดิมสู่องค์ความรู้ใหม่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) โรงเรียนสันติสุขพิทยาคม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการเป่าขลุ่ย
รีคอร์เดอร์ โดยใช้กระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้เดิมสู่องค์ความรู้ใหม่ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาขลุ่ยรีคอร์เดอร์1 ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ โดยใช้กระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้เดิมสู่องค์ความรู้ใหม่ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ โดยใช้กระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้เดิมสู่องค์ความรู้ใหม่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) โรงเรียนสันติสุขพิทยาคม กลุ่มตัวอย่างใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสันติสุขพิทยาคม อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) นักเรียนที่เรียนวิชาเพิ่มเติม ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ 1 ศ31202 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการเป่าขลุ่ย รีคอร์เดอร์ โดยใช้กระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้เดิมสู่องค์ความรู้ใหม่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาขลุ่ยรีคอร์เดอร์ 1 เรื่อง พื้นฐานการบรรเลงขลุ่ยรีคอร์เดอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 9 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุดทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน วิชา ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ 1 เรื่อง พื้นฐานการบรรเลงขลุ่ยรีคอร์เดอร์ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายรายข้อตั้งแต่ 0.30 0.70 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.25 0.87 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.8932 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ โดยใช้กระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้เดิมสู่องค์ความรู้ใหม่ เรื่อง พื้นฐานการบรรเลงขลุ่ยรีคอร์เดอร์
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ โดยใช้กระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้เดิมสู่องค์ความรู้ใหม่ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพโดยรวม 83.78/83.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 โดยมีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ เท่ากับ 83.78 และ ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ เท่ากับ 83.70
2. แบบฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ โดยใช้กระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้เดิมสู่องค์ความรู้ใหม่ ที่พัฒนาขึ้นมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6611 แสดงว่าผู้เรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.11
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาขลุ่ยรีคอร์เดอร์ 1 ของนักเรียนที่ได้รับการสอน โดยใช้แบบฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ โดยใช้กระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้เดิมสู่องค์ความรู้ใหม่ เรื่อง พื้นฐานการบรรเลงขลุ่ยรีคอร์เดอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ โดยใช้กระบวนการเชื่อมโยงองค์ความรู้เดิมสู่องค์ความรู้ใหม่ เรื่อง พื้นฐานการบรรเลงขลุ่ยรีคอร์เดอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมาก ( = 3.79, S.D.= 0.99)