ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา รายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์
รหัสวิชา ค16101 เรื่องบทประยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางปิ่นลดา ฮดมาลี
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านคกงิ้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เลย เขต 1
ปีที่พิมพ์ ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา รายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค16101 เรื่อง บทประยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของ
การเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา รายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค16101 เรื่อง บทประยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา รายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค16101 เรื่อง บทประยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามกระบวนการ แก้ปัญหาของโพลยา รายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค16101 เรื่อง บทประยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านคกงิ้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบไปด้วย 1) แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา รายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค16101 เรื่อง บทประยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค16101 เรื่องบทประยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 แผน รวม 15 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค16101 เรื่องบทประยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.43 0.70 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 0.80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.919 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 20 ข้อ การทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลใช้รูปแบบการทดลองแบบการทดลองกลุ่มเดียว สอบก่อนเรียนและสอบหลังเรียน (One Group Pre test Post test Design ) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (μ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา รายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค16101 เรื่อง บทประยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.18 /83.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2) ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามกระบวน
การแก้ปัญหาของโพลยา รายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค16101 เรื่อง บทประยุกต์ ระดับ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.7174 ซึ่งแสดงว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น 0.7174 คิดเป็นร้อยละ 71.74
3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา รายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค16101 เรื่อง บทประยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา รายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ รหัสวิชา
ค16101 เรื่อง บทประยุกต์ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.67