ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ระบำกำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี นาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้ศึกษา จุฬาพัฒน์ ประดิษฐ์
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง รายงานผลการใช้หนังสือประกอบการเรียน ชุด ระบำกำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี นาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ชุด ระบำกำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี นาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ระบำกำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี นาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ระบำกำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรีนาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษา ประกอบด้วย เอกสารประกอบการเรียน ชุด ระบำกำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี นาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 19 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลผลการศึกษาโดยหาค่าประสิทธิภาพ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที
สรุปผลการศึกษา
1. ผลการหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ชุด ระบำกำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี นาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.31/82.27 ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลการเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบ การเรียน ชุด ระบำกำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี นาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ระบำกำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี นาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน รองลงมาคือ ด้านเนื้อหาของเอกสารประกอบ การเรียนซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านส่วนประกอบของเอกสารประกอบการเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก