ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ผู้วิจัย นายนพดล อินทรจงจิต ค

บทคัดย่อ

ในการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระยะเวลาที่ใช้ในการทำวิจัยทั้งสิ้น โดยเริ่มทำการวิจัยตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2560

ผลการวิจัยพบว่านักเรียนจำนวนหนึ่งมีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มมากขึ้นโดยใช้แบบฝึกทักษะต่างๆ และใช้เวลาในการทำงานพอสมควรจึงจะทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น และยังสามารถเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น

สารบัญ

เรื่อง หน้า

บทที่1

ความสำคัญและที่มา 1

จุดมุ่งหมาย 1

ตัวแปรที่ศึกษา 2

กรอบแนวคิดในการวิจัย 2

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3

นิยามศัพท์เฉพาะ 3

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 4

คุณภาพของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 5

หลักการสอนคณิตศาสตร์ 5

การสร้างแบบฝึกทักษะ 6

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย 8

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากร 10

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 10

การเก็บรวบรวมข้อมูล 11

การวิเคราะห์ข้อมูล 11

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 11

บทที่ 4

ผลการศึกษาค้นคว้า 12

บทที่ 5

สรุปผล 18

อภิปรายผล 18

ข้อเสนอแนะ 18

บรรณานุกรม 20

ภาคผนวก 21

แบบฝึกทักษะ 22

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 33

บทที่ 1

บทนำ

ความสำคัญและที่มา

ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เป็นการพัฒนาที่เน้นการสอน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และวิธีในการคิดคำนวณเป็นพื้นฐานในการศึกษาความรู้ ในการสอนที่ผ่านมาพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ทั้งนี้เกิดจากสาเหตุสำคัญ คือผู้เรียนไม่สนใจเรียน เห็นว่ายาก และวิเคราะห์ไม่เป็นจึงเป็นเหตุให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ จากการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 9 คน มีนักเรียนที่มีปัญหาในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำเกือบทุกคน ดังนั้นผู้ทำการวิจัยจึงหาวิธีการดำเนินการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น โดยใช้แบบฝึกทักษะที่หลากหลาย

ดังนั้นในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ครั้งนี้ จะใช้วิธีการประเมินนักเรียนควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกทักษะที่หลากหลายที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

สมมุติฐานของการวิจัย

1. คะแนนทดสอบหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน

ความสำคัญของการวิจัย

ผลที่ได้จากการวิจัยเรื่องนี้ จะเป็นแนวทางให้ครูผู้สอน ได้นำไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการ กระบวนการเรียนการสอนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับปัญหายิ่งขึ้น

ขอบเขตของการวิจัย

ประชากร คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนองค์การสวนยาง 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 9 คน

เนื้อหาที่ใช้สอน คือ

การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง

ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น

1. แผนการสอน

2. แบบฝึกทักษะ

3. การตรวจแบบฝึกทักษะ

4. แบบทดสอบก่อน – หลังเรียน

ตัวแปรตาม

1. พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560

ระยะเวลา

ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ผลการวิจัยนี้ จะเป็นข้อมูลอย่างที่จะช่วยให้การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ถูกแก้ไขและแก้ไขได้ถูกคนเพื่อให้ทีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นด้วยแบบฝึกทักษะที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้มีการคิดเป็น และมีทัศนะคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อที่จะให้การสอนวิชาคณิตศาสตร์สัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น

นิยามศัพท์

1. แบบฝึก หมายถึง สื่อที่สร้างขึ้นใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง

2. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง

บทที่ 2

เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นี้ผู้วิจัยได้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

2. คุณภาพของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

3. หลักการสอนคณิตศาสตร์

4. การสร้างแบบฝึกทักษะ

5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า

1. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

เมื่อผู้เรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีแล้ว ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาสาระคณิตศาสตร์ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ตระหนักในคุณค่าของคณิตศาสตร์ และสามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตตลอดจนสามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และเป็นพื้นฐานในการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างมีคุณภาพนั้น จะต้องมีความสมดุลระหว่างสาระทางด้านความรู้ ทักษะกระบวนการควบคู่ไปกับคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมดังนี้

1. มีความรู้ความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐานซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเกี่ยวกับจำนวนและการดำเนินกาสร การวัดเรขาคณิต พีชคณิตการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น พร้อมทั้งสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

2. มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น ได้แก่ ความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการหลากหลาย การให้เหตุผล การสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ

3. มีความสามารถในการทำงานอย่างเป็นระบบ มีระเบียบวินัย มีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรมและจริยธรรม มีวิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

2. คุณภาพของผู้เรียนเมื่อจบช่วงชั้นที่ 3 ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 )

จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

• มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับจำนวนจริง มีความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน ร้อยละ เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม รากที่สองและรากที่สามของจำนวนจริง สามารถดำเนินการเกี่ยวกับจำนวนเต็ม เศษส่วน ทศนิยม เลขยกกำลัง รากที่สองและรากที่สามของจำนวนจริง ใช้การประมาณค่าในการดำเนินการและแก้ปัญหา และนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนไปใช้ในชีวิตจริงได้

• มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่ผิวของปริซึม ทรงกระบอก และปริมาตรของปริซึม ทรงกระบอก พีระมิด กรวย และทรงกลม เลือกใช้หน่วยการวัดในระบบต่าง ๆ เกี่ยวกับความยาว พื้นที่ และปริมาตรได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการวัดไปใช้ในชีวิตจริงได้

• สามารถสร้างและอธิบายขั้นตอนการสร้างรูปเรขาคณิตสองมิติโดยใช้วงเวียนและสันตรง อธิบายลักษณะและสมบัติของรูปเรขาคณิตสามมิติซึ่งได้แก่ ปริซึม พีระมิด ทรงกระบอก กรวย และทรงกลมได้

• มีความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติของความเท่ากันทุกประการและความคล้ายของรูปสามเหลี่ยม เส้นขนาน ทฤษฎีบทพีทาโกรัสและบทกลับ และสามารถนำสมบัติเหล่านั้นไปใช้ในการให้เหตุผลและแก้ปัญหาได้ มีความเข้าใจเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิต(geometric transformation)ในเรื่องการเลื่อนขนาน(translation) การสะท้อน (reflection) และการหมุน (rotation) และนำไปใช้ได้

• สามารถนึกภาพและอธิบายลักษณะของรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ

• สามารถวิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ของแบบรูป สถานการณ์หรือปัญหา และสามารถใช้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และกราฟในการแก้ปัญหาได้

• สามารถกำหนดประเด็น เขียนข้อคำถามเกี่ยวกับปัญหาหรือสถานการณ์ กำหนดวิธีการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภูมิรูปวงกลม หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสมได้

• เข้าใจค่ากลางของข้อมูลในเรื่องค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยมของข้อมูลที่ยังไม่ได้แจกแจงความถี่ และเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งใช้ความรู้ในการพิจารณาข้อมูลข่าวสารทางสถิติ

• เข้าใจเกี่ยวกับการทดลองสุ่ม เหตุการณ์ และความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ สามารถใช้ความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์และประกอบการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้

• ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอ ได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์ และนำความรู้ หลักการ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

3. หลักการสอนคณิตศาสตร์

การสอนคณิตศาสตร์ที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ดีนั้น ผู้สอนจะต้องมีการเตรียมความพร้อมของผู้เรียน และจำเป็นต้องหาเทคนิคและวิธีการการสอนมาใช้อย่างหลากหลาย รวมถึงแบบฝึกทักษะเพื่อกระตุ้นความสนใจที่จะเรียนรู้ ลดความเบื่อหน่ายในการเรียนแบบซ้ำซาก และผู้เรียนสามารถที่จะใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที และหลักการสอนที่ดีต้องสอนให้ผู้เรียนรู้จักลำดับขั้นการฝึกสำหรับผู้เรียนในการเรียนคณิตศาสตร์ ดังนี้

1.การฝึกพื้นฐาน ควรฝึกให้เกิดทักษะเบื้องต้น ก่อนไม่ควรมองข้ามว่าง่ายเกินไปที่ว่าง่ายเพราะคิด แบบไม่จำกัดเวลา ถ้าให้เวลาน้อยลงจะทำให้ยาก ขึ้นแบบฝึกคิดเลขเร็วนี้ ต้องให้เวลาตัวเอง ถ้าเห็น ว่าง่าย ก็ให้เวลาน้อยลง ถ้าเห็นว่ายาก ให้เวลา การทำมากขึ้นตามความสามารถของแต่ละคน

2. การฝึกควรมีสมาธิ หาที่สงบเงียบแล้วจับ เวลาหรือแข่งขันกับเพื่อน ตั้งใจทำให้เต็มความสามารถ และควรฝึกทุกวัน

3. ตรวจหาคำตอบด้วยตัวเอง ช่วยให้เข้าใจ มากยิ่งขึ้น ถูกหรือผิดไม่สำคัญว่าตั้งใจ คิดหรือเปล่า ถ้ามีข้อผิด คิดผิดอย่างไร ทบทวนข้อผิดพลาดของ

4. บันทึกการฝึกฝน ควรบันทึกการฝึกฝนทุกครั้งเพื่อทราบพัฒนาการของตนเอง จะทำให้ทราบความก้าวหน้าและแข่งขันกับตัวเอง

ทำไมคิดเลขผิดบ่อย

ต้องดูก่อนว่าผิดเพราะอะไร ผิดเพราะไม่เข้าใจขั้นตอน ผิดเพราะคิดไม่ได้ หรือผิดเพราะ หลง ลืม ข้าม เผอเรอ ขอวิเคราะห์ว่า ที่เป็นอย่างนั้นเพราะ

1. เชื่อมั่นตัวเองเกินไป

2. ชอบคิดลัด ข้ามขั้นตอน

3. ตั้งใจรีบทำให้เสร็จ โดยไม่คำนึงว่าจะถูกหรือไม่

4. ทำแบบรวดเร็ว และเร็วมากๆ ขณะเดียวกัน ใจก็ ไม่จดจ่อกับสิ่งทำ สมาธิต่ำ

5. คิดวิธีได้แล้ว ดังนั้น การทำก็ไม่ยาก

6. แม้จำสูตรได้ แต่ขาดรายละเอียด หรือจำสูตรได้ไม่ครบทุกตัว

4. การสร้างแบบฝึกทักษะ

4.1 ความหมายของแบบฝึก

กาญจนา อูตรวิเชียร ได้อ้างถึง ชาญชัย วลิตรังสิมาและเชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์ ที่กล่าวถึง ความหมายของแบบฝึกไว้ว่า “ แบบฝึก” หมายถึง สื่อการสอนที่สร้างขึ้นมาเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาให้แก่นักเรียนได้มีโอกาสฝึกฝนจนมีประสบการณ์ แบบฝึกจะมีแบบฝึกหัดให้นักเรียนทำกิจกรรมเพื่อทบทวนความรู้ที่ได้เรียนในแบบฝึก และเพื่อให้ครูและนักเรียนได้ทราบข้อบกพร่องในการเรียนการสอน จะได้แก้ไขให้การเรียนการสอนพัฒนาให้ดีกว่าเดิม

จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่า แบบฝึก คือ สื่อการสอนที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่สูงกว่าเกณฑ์

4.2 ประโยชน์ของแบบฝึก

แบบฝึกเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพราะมีประโยชน์หลายด้านดังที่ผู้วิจัยหลายท่านได้กล่าวไว้ดังนี้

มาสวิมล รักบ้านเกิด ได้กล่าวถึงประโยชน์ของแบบฝึกสรุปได้ว่า แบบฝึกช่วยให้ครูทราบผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และข้อบกพร่องของนักเรียนอีกทั้งช่วยให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในการเรียน

ละเอียด คชรัตน์ ได้กล่าวถึงประโยชน์ของแบบฝึกสรุปได้ว่าแบบฝึกเป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือวัดผลและประเมินผล ช่วยให้ครูทราบความก้าวหน้า หรือข้อบกพร่องของนักเรียน และช่วยให้นักเรียนประสบแก่ความสำเร็จในการเรียน

จากข้อสรุปดังกล่าวได้กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า แบบฝึกมีประโยชน์กับครูแลนักเรียนด้านการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านการวัดผลและประเมินผล ทำให้ครูทราบข้อบกพร่องของนักเรียนและช่วยให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนได้เป็นอย่างดี

4.3 หลักจิตวิทยาที่นำมาใช้ในการสร้างแบบฝึก

สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์ ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้ทางจิตวิทยาที่ต้องนำมาใช้การสร้างแบบฝึกสรุปได้ดังนี้

1. กฎเกี่ยวกับการฝึกหัด (Law of Exercises) ของธอร์นไดค์ ซึ่งกล่าวว่า สิ่งใดที่มีการฝึกหัดจัดทำให้ผู้เรียนมีความคล่องแคล่วและสามารถทำงานได้ดี( Law of use) และสิ่งใดที่ไม่ได้รับการฝึก จำทำให้ได้ไม่ดี ( Law of disuse)

2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล ควรคำนึงถึง นักเรียนแต่ละคนมีความสามารถและความสนใจแตกต่างกัน ฉะนั้นในการสร้างแบบฝึกควรมีความยากง่ายพอเหมาะและควรมีหลายแบบ

3. การจูงใจผู้เรียน โดยการจัดแบบฝึกจากง่ายไปหายาก

4. ใช้แบบฝึกสั้นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย

พรรณี ชูทัยเจนจิต ได้เสนอหลักจิตวิทยาในการสร้างแบบฝึกไว้สรุปได้ดังนี้

1. การจูงใจ คือ การจัดแบบฝึกเรียงตามลำดับจากง่ายไปหายาก ควรสร้างแบบฝึกให้หลายรูปแบบโดยให้เหมาะสมกับความสนใจของผู้เรียน

2. การฝึกหัด คือ การให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมซ้ำ

3. ความใกล้ชิด คือ การใช้สิ่งเร้าและการตอบสนองเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน

4. กฎแห่งผล คือ การให้ผู้เรียนได้ทราบผลของการทำงานของตนเอง

จากข้อความดังกล่าวมาแล้วแสดงว่า การสร้างแบบฝึกจะต้องคำนึงถึงหลักของจิตวิทยาหลายประเภท ได้แก่ความแตกต่างระหว่างบุคคล การจูงใจ ความใกล้ชิด กฎแห่งการฝึกหัดและกฎแห่งผล

4.4 วิธีสร้างแบบฝึก

ซ่อนกลิ่น คำศิริ ได้อ้างถึง ลออ การุณยะวณิช และคณะ ที่ได้ให้คำแนะนำในการสร้างแบบฝึกสรุปได้ดังนี้

1.ใช้หลักการเรียนรู้ เช่นตั้งใจเรียนมีเป้าหมายในการเรียนรู้

2..การฝึกหัดต้องทำโดยจำเพาะเจาะจง

3. ไม่ควรใช้เวลานานเกินไป ควรใช้เกมหรืออุปกรณ์ช่วย

4. ใช้วิธีฝึกที่เป็นระเบียบ รวดเร็ว ย่นย่อ

5. มีความยากง่ายเหมาะสม

6. ระยะแรกๆควรใช้เวลาฝึกหัดสั้นๆ แล้วค่อยเพิ่มเวลาให้มากขึ้น

7. ต้องมีการฝึกเป็นรายบุคคลหรือเฉพาะกลุ่ม

8. ควรให้นักเรียนทราบผลความก้าวหน้า

9. เมื่อพบข้อผิดพลาดควรให้นักเรียนแก้ไขได้ถูกต้อง

10. เมื่อฝึกหัดแล้วต้องนำไปใช้ และครูต้องติดตามผล

ไพรัตน์ อนุพันธ์ ได้กล่าวถึงวิธีสร้างแบบฝึกสรุปได้ดังนี้

1. ต้องใช้ภาษาที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถของนักเรียน

2. ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องในการสร้างแบบฝึก

3. ต้องมีคำอธิบายชัดเจน และแบบฝึกหนึ่งๆ ควรฝึกเพียงเรื่องเดียว

4. แบบฝึกควรมีหลายรูปแบบ

5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า

นภาพร (2543) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ โดยการทำงานวิจัยกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2541 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์)จำนวน 37 คน ผลการวิจัยปรากฏว่า การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึก ส่งผลให้นักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูงกว่านักเรียนในกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนตามปกติ

กนกวรรณ บั้งทอง (2542) ได้ศึกษาผลการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้แบบฝึกพบว่า ผลการเรียนคณิตศาสตร์ ค 203 ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ที่ได้ใช้แบบฝึกในการจัดการเรียนการสอน มีคะแนนเฉลี่ยงสูง การกระจายคะแนนค่อนข้างน้อยมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย

ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนดังนี้

1..ประชากร

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

4. การวิเคราะห์ข้อมูล

5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

1. ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนองค์การสวนยาง 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 9 คน

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด

1. แผนการสอนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง

2. แบบฝึกทักษะเรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง

3. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองเป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกคำตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ผู้วิจัยนำแบบทดสอบก่อนเรียน( PRE-TEST) ใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสร้างขึ้นก่อนทดลอง 1 วัน ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสอบเองใช้เวลาในการทดสอบ 40 นาทีแล้วตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

3. ทำการทดลองสอบหลังเรียน( PRO-TEST) หลังการทดลองสิ้นสุดลงโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง

4. การวิเคราะห์ข้อมูล

วิเคราะห์ข้อมูลสมมุติฐาน

1. ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยหลังเรียนและก่อนเรียนในการใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้สถิติในการวิจัยครั้งนี้

1. ค่าร้อยละ

2. ค่าเฉลี่ย (x)

3. ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)

บทที่ 4

ผลการศึกษาค้นคว้า

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ โรงเรียนองค์การสวนยาง 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ผู้วิจัยเสนอผลการศึกษาค้นคว้า ดังนี้

1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมี จำนวน 9 คน ผู้หญิง จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ผู้ชาย จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33

ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนเพื่อ

พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ

ข้อที่ รายการ X SD ระดับความคิดเห็น

1 ตั้งใจเรียนเข้าเรียน ทำงานสม่ำเสมอ 3.67 0.84 มาก

2 มีสมาธิเมื่อครูกำลังสอนหรือให้ทำงาน 2.88 0.97 ปานกลาง

3 ไม่เล่นเหย้าแหย่กับเพื่อนในขณะที่ครูสอนหรือให้ทำงาน 3.99 1.02 ปานกลาง

4 ให้ความเคารพในสิทธิของผู้อื่นในขณะครูสอนหรือให้ทำงาน 3.96 0.56 มาก

5 ไม่เคยนอนหลับในขณะที่ครูสอนหรือให้ทำงาน 4.57 0.70 มากที่สุด

ค่าเฉลี่ย 3.08 0.81 มาก

จากตารางที่1 พบว่าพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ อยู่ในระดับมาก ส่วนระดับความคิดเห็นในรายข้อมีดังนี้ นักเรียนไม่เคยนอนหลับในขณะที่ครูสอนหรือให้ทำงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.70 และอันดับสุดท้าย คือ ไม่เล่นเหย้าแหย่กับเพื่อนในขณะที่ครูสอนหรือให้ทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.99 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.02

ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแบบประเมินตนเองเพื่อพัฒนา

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะ

ข้อที่ รายการ X SD ระดับความคิดเห็น

ด้านเนื้อหาสาระ

1 เนื้อหาตรงกับรายวิชาที่กำหนด 3.90 0.30 มาก

2 ความแปลกใหม่และความทันสมัยของเนื้อหา 3.69 0.83 มาก

3 มีการปรับเนื้อหากิจกรรมมาทำงานเป็นกลุ่ม 3.31 1.08 ปานกลาง

4 มีการนำเสนอผลงาน/แบบทดสอบหน้าชั้นเรียน 3.96 0.56 มาก

5 ส่งงานตามเวลาที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง 4.51 0.70 มากที่สุด

6 มีแบบทดสอบมากกว่า1ชุด 4.25 1.36 มาก

7 มีการทำสื่อการเรียนการสอน 4.00 0.72 มาก

8 มีการค้นคว้าใช้แหล่งเรียนรู้นอกเหนือจากห้องเรียน 3.04 0.59 ปานกลาง

9 มีการเตรียมเนื้อหาสาระมาล่วงหน้า 3.10 0.45 ปานกลาง

10 มีใบงาน / ใบความรู้นอกเหนือจากหนังเรียนตรงกับเนื้อหา 3.80 1.66 มากที่สุด

รวมค่าเฉลี่ยด้านเนื้อหาสาระ 3.75 0.82 มาก

ด้านผู้สอน

1 มีเทคนิคใหม่ๆในการเรียนการสอน 3.92 0.44 มาก

2 เข้าสอนตรงตามเวลาและออกตรงตามเวลา 3.98 0.70 มาก

3 มีการจัดสอบเป็นระยะ 3.82 0.65 มาก

4 มีสื่อ ใบงาน / ใบความรู้ในการเรียน 4.24 1.03 มากที่สุด

5 การแต่งกายเหมาะสมและสุภาพ 4.57 0.70 มากที่สุด

6 ครูให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ 3.78 0.78 มาก

7 ครูมีการอธิบายก่อนทำงาน 3.76 0.81 มาก

8 ครูสอนตัวอย่างแล้วให้นักเรียนทำงานใบงานต่อเนื่อง 4.06 0.64 มาก

9 ครูมีการเตรียมการสอน 3.86 0.63 มาก

10 ครูแจ้งงานเป็นระยะๆให้นักเรียนทราบ 3.73 0.85 มาก

รวมค่าเฉลี่ยด้านผู้สอน 3.97 0.72 มาก

จากตารางที่ 2 พบว่าการประเมินตนเองของนักเรียนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะ ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านเนื้อหาสาระ อยู่ในระดับ มาก ซึ่งส่งงานตามเวลาที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง เป็นอันดับแรก อยู่ในระดับ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.51 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.70 อันดับสุดท้าย คือ มีการค้นคว้าใช้แหล่งเรียนรู้นอกเหนือจากห้องเรียนอยู่ในระดับ ปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.04 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.59ด้านผู้สอน อยู่ในระดับมาก ซึ่งการแต่งกายเหมาะสมและสุภาพ เป็นอันดับแรก อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.57 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.70 และอันดับสุดท้ายคือ ครูแจ้งงานเป็นระยะๆให้นักเรียนทราบ ค่าเฉลี่ย 3.73 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.85

ตารงที่ 3 แสดงผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนหลังเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดย

ใช้แบบฝึกทักษะ

ลำดับที่ ชื่อ - สกุล คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน ความ

ก้าว

หน้า (X1)1 (X2)2

คะแนนX1 ร้อยละ คะแนนX2 ร้อยละ

1 เด็กหญิงณัฐพร คงสง 5 50 7 70 2 25 49

2 เด็กหญิงอภิชญา สงเทพ 6 60 9 90 3 36 81

3 เด็กหญิงพัชรีภรณ์ บัวจีน 3 30 5 50 2 9 25

4 เด็กชายจักรพันธ์ ดิษฐราชา 3 30 5 50 2 9 25

5 เด็กหญิงขวัญพิชชา นพรัตน์ 5 50 8 80 3 25 64

6 เด็กชายภาณุพันธ์ ณะฤทธิ์ 4 40 7 70 3 16 49

7 เด็กชายณัฐวุฒิ เจ้ยทอง 4 40 7 70 3 16 49

8 เด็กหญิงกมลชนก มาลาเวช 3 30 5 50 2 9 25

9 เด็กหญิงธิดารัตน์ คงปินัง 5 50 8 80 3 25 64

รวม 38 380 61 610 23 170 431

เฉลี่ย 4.22 42.22 6.78 67.80 2.56

ร้อยละ 42.22 67.80 25.58

(SD)2 9.57 17.57

SD 3.09 4.19

จากตารางที่ 3 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เฉลี่ย 4.22 จากคะแนน 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 42.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD) เท่ากับ 3.09 ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเฉลี่ย 6.78 จากคะแนน 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 67.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD) เท่ากับ 4.19 จากการทดสอบทั้งสองครั้งผลปรากฎว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 2.56 คิดเป็นร้อยละ 25.58 ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นหลังจากได้แบบฝึกทักษะเป็นไปตามสมมติฐานที่วางไว้

บทที่ 5

สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บทย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะผู้วิจัยสรุปการวิจัยได้ ดังนี้

ความมุ่งหมายของการวิจัย

1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและ

หลังการใช้แบบฝึกทักษะ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

ความสำคัญของการวิจัย

ผลที่ได้รับจากการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้ครูผู้สอนของโรงเรียนได้นำไปปรับปรุงแก้ไขกระบวนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะกับเนื้อหาเรื่องอื่น ๆ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อันก่อให้เกิดประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สมมุติฐานของการวิจัย

1. คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามขั้นตอนดังนี้

1. ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนองค์การสวนยาง 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560

จำนวนนักเรียน 9 คน

2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามีดังนี้

2.1 แผนการสอนเรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 แผนการสอน

2.2 ชุดแบบฝึกทักษะเรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

2.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

3. การดำเนินการทดลอง

3.1 นำแบบฝึกทักษะเรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ให้นักเรียนทำ แล้วให้การบ้าน ไปทำ

3.2 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทดสอบนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง แล้วบันทึกผลการทดสอบเก็บไว้เปรียบเทียบกับผลการทดสอบหลังใช้แบบฝึกทักษะ

3.3 ผู้วิจัยดำเนินการสอนเรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองโดยใช้แบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

3.4 ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองหลังใช้แบบฝึกทักษะ กับนักเรียน

4. การวิเคราะห์ข้อมูล

1. ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยหลังเรียนและก่อนเรียนในการใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

สรุปผล

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เฉลี่ย 4.22 จากคะแนน 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 42.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD) เท่ากับ 3.09 ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเฉลี่ย 6.78 จากคะแนน 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 67.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD) เท่ากับ 4.19 จากการทดสอบทั้งสองครั้งผลปรากฎว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 2.56 คิดเป็นร้อยละ 25.58 ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นหลังจากได้แบบฝึกทักษะเป็นไปตามสมมติฐานที่วางไว้

อภิปรายผล

การจัดกิจกรรมพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถนำไปใช้เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ในสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีนักเรียนอีกจำนวน 2 คนที่ยังขาดความใส่ใจในเวลาเรียนซึ่งถ้าเป็นไปได้อยากจะทำการวิจัยอย่างต่อเนื่องกับเด็กกลุ่ม 2 คน เป็นรายกรณี เพราะถ้าปล่อยไปเรื่อยๆ เด็กนักเรียนจำนวนนี้ก็อาจจะสร้างปัญหาให้กับรายวิชาอื่นๆ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้อยากจะศึกษาถึงปัจจัยที่นักเรียนกลุ่มนี้ขาดความสนใจในวิชาคณิตศาสตร์จะได้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและตัวนักเรียนกลุ่มนี้ให้ได้รับความรู้คณิตศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

ข้อเสนอแนะ

1. ครูผู้สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สามารถนำแบบฝึกทักษะเรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปทดสอบใช้และพัฒนาต่อไป

2. ควรมีการศึกษาเจตคติต่อการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ

3. ควรมีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างต่อเนื่อง และในระดับชั้นอื่นๆ

โพสต์โดย เอ็ม : [1 ก.ค. 2561 เวลา 18:42 น.]
อ่าน [10527] ไอพี : 49.229.101.137
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 21,220 ครั้ง
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบกราฟิก
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบกราฟิก

เปิดอ่าน 34,368 ครั้ง
การทักทาย วิธีเรียงประโยค(ภาษาจีน)
การทักทาย วิธีเรียงประโยค(ภาษาจีน)

เปิดอ่าน 34,377 ครั้ง
อยากเก่งภาษาอังกฤษทำยังไง
อยากเก่งภาษาอังกฤษทำยังไง

เปิดอ่าน 19,178 ครั้ง
ประโยชน์ของการบริโภค "ต้นหอมญี่ปุ่น"
ประโยชน์ของการบริโภค "ต้นหอมญี่ปุ่น"

เปิดอ่าน 35,501 ครั้ง
ชุดประจำชาติต่างๆ ในอาเซียน
ชุดประจำชาติต่างๆ ในอาเซียน

เปิดอ่าน 16,661 ครั้ง
สรรพคุณของ "เสลดพังพอนตัวผู้"
สรรพคุณของ "เสลดพังพอนตัวผู้"

เปิดอ่าน 30,473 ครั้ง
น่าชื่นชม!!เด็กม.3รับแปลภาษาจีนรายได้ร่วม3หมื่นต่อเดือน
น่าชื่นชม!!เด็กม.3รับแปลภาษาจีนรายได้ร่วม3หมื่นต่อเดือน

เปิดอ่าน 10,610 ครั้ง
ดูเป็นแสน!นร.อ่านอังกฤษฮา ครูหล่อเผยไม่ดุนร.เก่งขึ้น
ดูเป็นแสน!นร.อ่านอังกฤษฮา ครูหล่อเผยไม่ดุนร.เก่งขึ้น

เปิดอ่าน 12,743 ครั้ง
ข้อดี เคี้ยวช้าลง เสริมสุขภาพให้ดีขึ้นได้
ข้อดี เคี้ยวช้าลง เสริมสุขภาพให้ดีขึ้นได้

เปิดอ่าน 767 ครั้ง
UNESCO ประกาศขึ้นทะเบียน "สงกรานต์ไทย" เป็นรายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
UNESCO ประกาศขึ้นทะเบียน "สงกรานต์ไทย" เป็นรายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

เปิดอ่าน 54,946 ครั้ง
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ"คำนำหน้านาม"
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ"คำนำหน้านาม"

เปิดอ่าน 39,379 ครั้ง
ศัพท์สถิติทางการศึกษา
ศัพท์สถิติทางการศึกษา

เปิดอ่าน 12,506 ครั้ง
เทคนิค 6 ต. เพื่อสอบแอดมิชชั่นให้ "ติด"
เทคนิค 6 ต. เพื่อสอบแอดมิชชั่นให้ "ติด"

เปิดอ่าน 19,357 ครั้ง
รายงานการวิจัย สถานภาพการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรองรับการปฏิรูปการศึกษ
รายงานการวิจัย สถานภาพการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรองรับการปฏิรูปการศึกษ

เปิดอ่าน 4,689 ครั้ง
"องุ่นทะเล" ไม้ใหญ่ประโยชน์เยอะ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
"องุ่นทะเล" ไม้ใหญ่ประโยชน์เยอะ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

เปิดอ่าน 12,179 ครั้ง
ลูกหมาเดินวนกินนม แบบกังหัน น่ารักมากครับ
ลูกหมาเดินวนกินนม แบบกังหัน น่ารักมากครับ
เปิดอ่าน 17,964 ครั้ง
เผยแพร่หลักสูตรสถานศึกษาและเอกสารประกอบหลักสูตรสถานศึกษา 2563 : 8 กลุ่มสาระ โรงเรียนวัดหนองดินแดง (ประชารัฐอุทิศ)
เผยแพร่หลักสูตรสถานศึกษาและเอกสารประกอบหลักสูตรสถานศึกษา 2563 : 8 กลุ่มสาระ โรงเรียนวัดหนองดินแดง (ประชารัฐอุทิศ)
เปิดอ่าน 1,844 ครั้ง
เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลของเรารั่วไหล เราจะรับมือแล้วป้องกันอย่างไร?
เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลของเรารั่วไหล เราจะรับมือแล้วป้องกันอย่างไร?
เปิดอ่าน 15,730 ครั้ง
การสอนภาษาอังกฤษ ในสพฐ. จุดอ่อนที่ควรคำนึง
การสอนภาษาอังกฤษ ในสพฐ. จุดอ่อนที่ควรคำนึง
เปิดอ่าน 19,125 ครั้ง
แผนภาพ infoGraphic ข้อมูลการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
แผนภาพ infoGraphic ข้อมูลการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ