การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง โรคติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา (สุขศึกษา) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง โรคติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง โรคติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง โรคติดต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านคลองสิบแปด อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 18 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ประกอบด้วย
1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง โรคติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สุขศึกษา) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 เล่ม
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โรคติดต่อ กลุ่มการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา (สุขศึกษา) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
3. แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง โรคติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบแบบที (t test)
ผลการพัฒนาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง โรคติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา(สุขศึกษา) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 เล่ม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.03/83.77
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง โรคติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง โรคติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากทั้งเป็นรายข้อและโดยภาพรวม