ผู้รายงาน นางนิศานาถ ทัพวงษ์ ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านวังทอง สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
รายงานการใช้การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง หิน แร่และการเปลี่ยนแปลงของโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านวังทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง หิน แร่และการเปลี่ยนแปลงของโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง หิน แร่และการเปลี่ยนแปลงของโลก
ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง หิน แร่และการเปลี่ยนแปลงของโลก
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาขั้นตอนนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน บ้านวังทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 22 คน ใช้เวลาในการศึกษา 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง หิน แร่และการเปลี่ยนแปลงของโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หิน แร่และการเปลี่ยนแปลงของโลก 3 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 หินมีคุณค่า ชุดที่ 2 ภูมิปัญญาแร่ธาตุไทย และชุดที่ 3 แผ่นดินไหวธรณีพิบัติ ใช้เวลาในชั่วโมงเรียนหลังจากเรียนเนื้อหาจากบทเรียนแล้ว
ผลการศึกษาพบว่า
ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง หิน แร่และการเปลี่ยนแปลงของโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีความเหมาะสมมากที่สุด และประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.71/86.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีคะแนนจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง หิน แร่และการเปลี่ยนแปลงของโลก พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด