บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก ปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะ และเพื่อศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 จำนวน 32 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนวัดบ้านนา(ฟินวิทยาคม) ซึ่งได้มาโดยการการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ดำเนินการทดลองเป็นเวลา 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาประกอบด้วย 1) กิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะ 2) แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 3) แบบสังเกตพฤติกรรมตามคุณลักษณะของจิตวิทยาศาสตร์
ผลการสร้างและใช้เครื่องมือ ปรากฏผลดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และจำแนกรายทักษะมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงขึ้น ทุกทักษะ อยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น
และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือ ทักษะการจำแนกประเภท เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการ
ทดลอง พบว่า แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. จิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักร การสืบเสาะภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านความซื่อสัตย์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
1. การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะ เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ในระดับสูงมากขึ้น มีความกระตือรือร้นขณะทำกิจกรรมและลงข้อสรุปได้ด้วย
ตนเองดังนั้นครูจึงกำหนดกิจกรรมให้น่าสนใจ ท้าทาย ความสนใจของเด็กปฐมวัย
2. หลังจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะ เด็กปฐมวัยมีจิตวิทยาศาสตร์ ด้านความสนใจใฝ่รู้ ด้านความรับผิดชอบและด้านความซื่อสัตย์อยู่ในระดับดี ดังนั้นครูควรเสริมสร้าง จิตวิทยาศาสตร์โดยใช้จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะกับกิจกรรมอื่นๆ เช่น กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมทัศนศึกษา เป็นต้น