ชื่อผลงาน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียน
แบบร่วมมือ เรื่องปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย นางสาวธัณฤมน สำราญสุข ครูวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ ที่เกิดจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 18 คน ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
จากการที่ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือที่เสริมสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องเทคโนโลยีอวกาศ โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
2.1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ มี 4 ขั้นตอนคือ
ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน มีการศึกษาข้อมูล 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรโรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร พุทธศักราช 2553 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สรุปผลการวิเคราะห์ พบว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น กำหนดจุดมุ่งหมายเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่ชัดเจน หลักสูตรโรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร พุทธศักราช 2553 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นหลักสูตรที่กำหนดโครงสร้าง ยืดหยุ่น มีการกำหนดจุดมุ่งหมายในการจัดการหลักสูตรที่ชัดเจน ที่มุงพัฒนานักเรียนให้มีทักษะชีวิต ผลสัมฤทธิ์ ความสามารถทางคิด ได้อย่างชัดเจน ส่วนที่ 2 การศึกษาสภาพปัญหา เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า จากการศึกษารายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก สมศ. นักเรียนขาดทักษะความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ และผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ต่ำ ส่วนที่ 3 การศึกษาความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ จากบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยการสัมภาษณ์ ผู้บริหารโรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร 1 คน คณะครูผู้สอน 5 คนและกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร 1 คน รวม 7 คน ผลการศึกษาพบว่า ด้านการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยภาพรวมมีความเห็นว่า ควรสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำรูปแบบ การผลิตสื่ออุปกรณ์ในการพัฒนารูปแบบ และจัดประชุมบุคลากรร่วมกันพิจารณาของผู้ที่เกี่ยวข้อง คือผู้บริหาร คณะครูผู้สอน ผู้ปกครอง ชุมชน เพื่อร่วมกันในการกำหนดแนวทางแก้ปัญหา เป้าหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรหลากหลาย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้เรียนจากประสบการณ์ตรง ได้ลงมือร่วมกันคิด ร่วมกันปฏิบัติ ออกแบบและทดลองด้วยตนเอง สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง มีแหล่งเรียนรู้สืบค้นข้อมูลที่หลากหลาย มีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
ขั้นที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ผลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานขั้นที่ 1 ผู้วิจัยได้ข้อมูลที่มาสังเคราะห์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีส่วนประกอบดังนี้ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด จุดประสงค์ สาระการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ กำหนดวิธีการวัดประเมินผล
ขั้นที่ 3 การประเมินตรวจสอบคุณภาพ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ในขั้นนี้ประเมินโดยใช้การสัมมนาอิงกลุ่ม (Focus Group) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมสัมมนาคือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร และการประเมินโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องขององค์ประกอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ได้พิจารณาความสอดคล้องขององค์ประกอบรูปแบบและแผนการจัดการเรียนรู้ นำข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขโดยการวิเคราะห์ข้อมูลการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) พบว่าค่าดัชนีความสอดคล้องจากการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ ของผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ย 4.71 ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
ขั้นที่ 4 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ มีองค์ประกอบครบถ้วน แต่ละองค์ประกอบมีความสอดคล้องเหมาะสม โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขในรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และสื่อภารกิจ และสถานการณ์ปัญหา ให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
2.2 ผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ การหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้สรุปได้ดังนี้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.45/81.65 และมีค่าประสิทธิผลคิดเป็นร้อยละ 65.64
2.3 ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ และเจตคติ ที่เกิดจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สรุปได้ดังนี้
2.3.1 นักเรียนมีความสามารถทางการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3.3 นักเรียนมีเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.43 ซึ่งอยู่ในระดับมาก