ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค Active Learning ควบคู่กับเทคนิค K-W-D-L เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวสุกัญญา สว่างรัตน์
ปีที่ศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค Active Learning ควบคู่กับเทคนิค K-W-D-L เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1)เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2)เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค Active Learning ควบคู่กับเทคนิค K-W-D-L เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค Active Learning ควบคู่กับเทคนิค K-W-D-L เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4)เพื่อประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค Active Learning ควบคู่กับเทคนิค K-W-D-L เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) จำนวนนักเรียน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)คู่มือรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค Active Learning ควบคู่กับเทคนิค K-W-D-L เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค Active Learning ควบคู่กับเทคนิค K-W-D-L และ 3)แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค Active Learning ควบคู่กับเทคนิค K-W-D-L เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัญหาที่พบในการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) อังหวัดสมุทรสงคราม เนื่องมาจากผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (0-NET) วิชาคณิตศาสตร์ในปีการศึกษา 2559 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ค่อนข้างต่ำ คะแนนเฉลี่ยคือ 32.97 เมื่อพิจารณาปัญหาที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำพบว่า เนื้อหาที่เป็นปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนมากคือ การแก้โจทย์ปัญหาจากการตรวจแบบฝึกหัด และการสังเกตพบว่านักเรียนส่วนใหญ่แก้โจทย์ปัญหาไม่ได้ วิเคราะห์โจทย์ไม่เป็น สาเหตุอีกส่วนหนึ่งมาจากการสอนของผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งที่ผ่านมามีการใช้การจัดการเรียนรู้แบบการเรียนรู้โดยมีเด็กเป็นศูนย์กลาง (Child center) แต่การสอนของผู้สอนยังคงเน้นการบรรยาย ใช้กระดานในการสอนเป็นหลัก ผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง การจัดกิจกรรรมการเรียนการสอนไปตามแบบเรียน โดยอธิบายตัวอย่างและให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดเท่านั้น
จากการวิเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด นักเรียนสร้างองศ์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่วนวิธีการสอนแบบ K-W-D-L เป็นเทคนิคที่ฝึกให้นักเรียนคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาอย่างหลากหลาย อันจะเป็นผลให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันของตนเองได้ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ K (What we know) นักเรียนรู้อะไรบ้างในเรื่องที่จะเรียนหรือสิ่งที่โจทย์บอกให้ทราบมีอะไรบ้าง เป็นขั้นที่นักเรียนต้องอ่านอย่างวิเคราะห์ โดยอาจต้องใช้ความรู้เดิมที่เรียนไปแล้ว W (What we want to know) นักเรียนหาสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบหรือส่งที่นักเรียนต้องการรู้และต้องการค้นหาจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ เพื่อที่จะหาคำตอบและข้อมูลเหล่านั้น D (What we do to find out) นักเรียนจะต้องทำอะไรบ้าง มีวิธีใดบ้าง เพื่อหาคำตอบตามที่โจทย์ต้องการหรือสิ่งที่ตนเองต้องการรู้โดยดำเนินการแก้ปัญหาตามแผนและขั้นตอนที่วางไว้ซึ่งเป็นขั้นที่นักเรียนลงมือแก้ปัญหา และเรียนรู้ ขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาอย่างกระจ่างซัด L(What we learned) นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้โจทย์ต้องการทราบอะไร เป็นขั้นที่นักเรียนต้องตอบคำถามได้ว่าโจทย์ต้องการอะไร คำตอบที่ได้คืออะไร ได้มาอย่างไร ถูกต้องหรือไม่ โดยเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ให้ได้รวมถึงขั้นการวางแผนการแก้ปัญหา ด้วยวิธีการต่างๆ การใช้เทคนิค Active Learning ร่วมกับ เทคนิค K-W-D-L นี้จะฝึกให้นักเรียนคิด วิเคราะห์โจทย์ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนละเอียดถี่ถ้วนและทำให้นักเรียนเข้าใจกับโจทย์ปัญหาได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังฝึกให้นักเรียนหาวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างหลากหลาย อันจะส่งผลให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
ความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค Active Learning ควบคู่กับเทคนิค K-W-D-L เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนซั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผู้บริหารและครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์มีความต้องการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.98) และความคิดเห็นส่วนใหญ่มีความต้องการให้มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์มาก เพราะการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์จะสามารถถ่ายทอดความเป็นรูปธรรมให้กับนักเรียนไต้มากยิ่งขึ้น ทำให้นักเรียนมีความรู้ ความเช้าใจ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และเกิดความรู้สึกกระตือรือร้นในการเรียน รู้สึกไม่เบื่อ นอกจากนั้นยังไต้รับประสบการณ์ตรงสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ และรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค Active Learning ควบคู่กับเทคนิค K-W-D-L เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คำแนะนำสำหรับครู คำแนะนำสำหรับนักเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 แผน ใช้เวลาเรียนแผนละ 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 14 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบไปด้วยคำชี้แจงการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ใบความรู้ และแบบทดสอบระหว่างเรียน ประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค Active Learning ควบคู่กับเทคนิค K-W-D-L เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 88.89/91.05
3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค Active Learning ควบคู่กับเทคนิค K-W-D-L เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค Active Learning ควบคู่กับเทคนิค K-W-D-L เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญมากกว่า 0.05 โดยมีคำเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียน 8.39 และมีค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียน 36.42
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 6 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค Active Learning ควบคู่กับเทคนิค K-W-D-L เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน มีรายละเอียด ดังนี้ ด้านครูผู้สอน เมื่อเรียงลำดับความพึงพอใจจากมากไปน้อยพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อครูจัดชั้นเรียนเหมาะสมกับสภาพกิจกรรมและครูเตรียมสื่อ อุปกรณ์ล่วงหน้า และเหมาะสม ครูชมเชย ให้กำลังใจในการเรียน ครูอธิบายให้ความรู้อย่างชัดเจนและครูมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการคิดแก้ปัญหาและการจัดการเรียนการสอนอย่างแท้จริง และครูแนะนำ และขยายผลการปฏิบัติการคิดแก้ปัญหาทุกขั้นตอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน เมื่อเรียงลำดับความพึงพอใจจากมากไปน้อยพบว่า สรุปความรู้เชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ นักเรียน เรียนรู้จากการปฏิบัติการคิดแก้ปัญหาด้วยเองและร่วมกับผู้อื่นมีการเรียงเนื้อหาและกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม และนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์และแสวงหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ด้านวัดและประเมินผล เมื่อเรียงลำดับความพึงพอใจจากมากไปน้อยพบว่า ประเมินผลทั้งก่อนเรียน ระหว่างเรียนและสิ้นสุดการเรียน ประเมินผลทั้งการคิดแก้ปัญหา ทักษะและการเรียนรู้ของ นักเรียน วัดผลและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย และนักเรียนทราบความก้าวหน้าในการเรียน และด้านภาพรวมของรูปแบบการสอน เมื่อเรียงลำดับความพึงพอใจจากมากไปน้อยพบว่า รูปแบบการสอนนี้ทำให้เกิดความสนุกสนาน รูปแบบการสอนนี้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รูปแบบการสอนนี้น่าสนใจเหมาะสมกับการเรียนรู้ รูปแบบการสอนนี้ทำให้เข้าใจเนื้อหาสามารถคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และรูปแบบการสอนสอดคล้องกับเนื้อหาวิชาและนักเรียน