ชื่อเรื่อง : รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษา : นางสาวสุกัญญา รักทุ่ง ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านนาล้อม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนาล้อม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ ค่า t test แบบ Dependent
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้ศึกษาสร้างและพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ
เท่ากับ 89.58/87.78
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน และ การเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.82 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.04