ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และ
การสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองพญาแลวิทยา
ผู้รายงาน นายวงกฎ เหง่าชัย
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รหัสวิชา (ง31101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในครั้งนี้ ผู้รายงานมีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร และหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนเมืองพญาแลวิทยา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 33 คน
เครื่องมือที่ใช้ในศึกษาได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผลการศึกษาพบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.37/84.09 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.68 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.00
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x ̅=4.54,S.D 0.50)