ชื่อผลงาน รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะวิชา ท21102 ภาษาไทย เรื่อง การแต่งกาพย์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้รายงาน นางน้ำอ้อย กวางทอง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะวิชา ท21102 ภาษาไทย เรื่อง การแต่งกาพย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะวิชา ท21102 ภาษาไทย เรื่อง การแต่งกาพย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 (80/80) 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ท21102 ภาษาไทย เรื่อง การแต่งกาพย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะวิชา ท21102 ภาษาไทย เรื่อง การแต่งกาพย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/7 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 จำนวน 48 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะวิชา ท21102 ภาษาไทย เรื่อง การแต่งกาพย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิชา ท21102 ภาษาไทย เรื่อง การแต่งกาพย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะวิชา ท21102 ภาษาไทย เรื่อง การแต่งกาพย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 ข้อ
สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าประสิทธิภาพ ( E /E ) และค่าสถิติที (t - test)
ผลการศึกษา พบว่า
1) แบบฝึกทักษะวิชา ท21102 ภาษาไทย เรื่อง การแต่งกาพย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 (80/80) เท่ากับ 80.60/79.79
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ท21102 ภาษาไทย เรื่อง การแต่งกาพย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียน ( x̄ = 79.79 , S.D. = 1.94 ) สูงกว่าก่อนเรียน ( x̄ = 39.17 , S.D. = 1.78 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะวิชา ท21102 ภาษาไทย เรื่อง การแต่งกาพย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( x̄ = 4.32 , S.D. = 0.55 )