บทคัดย่อ
ในการทำวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่ 1). เพื่อศึกษาสภาพบริบทของชุมชนบ้านสันเก้ากอม อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก 2). เพื่อศึกษาการแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยอบน้ำผึ้ง เพื่อลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โรงเรียนบ้านห้วยนกแล อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก 3). เพื่อจัดสร้างหลักสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยอบน้ำผึ้ง เพื่อลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โรงเรียนบ้านห้วยนกแล อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ในรูปแบบการประเมินแบบซิป 4). เพื่อประเมินการใช้หลักสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยอบน้ำผึ้ง เพื่อลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โรงเรียนบ้านห้วยนกแล อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มสมาชิกการแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยอบน้ำผึ้ง จำนวน 22 คน สถานประกอบการการแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยอบน้ำผึ้ง จำนวน 22 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่นำมาใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบทดสอบ เป็นมาตรส่วนประมาณค่ามี 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลจากการวิจัยพบว่า
ตอนที่ 1 ผลจากการวิเคราะห์ บริบทของชุมชนบ้านสันเก้ากอม อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก พบว่า จากการตอบแบบสอบถามของผู้เชี่ยวชาญ และ สมาชิกกลุ่มการแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยอบน้ำผึ้ง ของชุมชนบ้านสันเก้ากอม อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก จำนวน 22 คน พบว่า จากสถานประกอบการ การแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยอบน้ำผึ้งของชุมชนบ้านสันเก้ากอม อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก มีเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ร้อยละ 77.27 ซึ่งส่วนมากมีสถานะสมรสแล้ว ร้อยละ 90.91 และมีระดับการศึกษา หลากหลายระดับ ส่วนใหญ่ระดับมัธยมศึกษามีจำนวนมากที่สุด รองลงมา คือ ระดับประถมศึกษา และในการแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยอบน้ำผึ้งนี้ สถานประกอบการมักจะจ้างคนในท้องถิ่นมาทำ โดยจ้างเป็นรายวัน นับว่าเป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นของชุมชนบ้านสันเก้ากอมได้เป็นอย่างดี และกล้วยน้ำว้า ที่สถานประกอบการนำมาใช้ในการแปรรูปจะมีชาวบ้านและอำเภอข้างเคียงขนส่งโดยใช้รถกระบะเป็นส่วนใหญ่
ตอนที่ 2 ผลจากการวิเคราะห์ความต้องการการแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยอบน้ำผึ้ง ของชุมชนบ้านสันเก้ากอม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 โรงเรียนบ้านห้วยนกแล อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก พบว่า จากการตอบแบบสอบถามความต้องการของผู้เชี่ยวชาญ และ สมาชิกกลุ่มการแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยอบน้ำผึ้ง ของชุมชนบ้านสันเก้ากอม อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก จำนวน 22 คน พบว่า ข้อที่มีความต้องการมาก คือ ข้อที่ 1-5 และข้อ 7-12 ส่วนระดับความต้องการปานกลาง รองลงมาซึ่งอยู่ในระดับความต้องการปานกลาง คือข้อ 6 เป็นต้น จากจำนวน 12 ข้อ ของระดับความต้องการมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.77 และ มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.97 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
ตอนที่ 3 ผลจากการวิเคราะห์การสร้างหลักสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยอบน้ำผึ้ง เพื่อลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 โรงเรียนบ้านห้วยนกแล อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ในรูปแบบการประเมินแบบซิป จำนวน 4 ด้าน พบว่า จากการตอบแบบสอบถามของ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตรและการสอน และสมาชิกกลุ่มการแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยอบน้ำผึ้ง ในภาพรวมจำนวนทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.35 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.73 อยู่ในระดับมาก
ตอนที่ 4 ผลจากการวิเคราะห์ ประเมินการใช้หลักสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วย อบน้ำผึ้ง เพื่อลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 โรงเรียน บ้านห้วยนกแล อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก พบว่า ภาพรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยอบน้ำผึ้ง เพื่อลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านห้วยนกแล อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน มีค่าร้อยละเท่ากับ 49.56 มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 14.86 และคะแนนทดสอบหลังเรียน มีค่าร้อยละเท่ากับ 83.67 มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 25.10 ซึ่งเป็นแบบทดสอบวัดความรู้ระหว่างการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ มีค่าเฉลี่ย ( ) ร้อยละความก้าวหน้า เท่ากับ 34.11 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 5.31 และค่าที (t-test) เท่ากับ 10.54 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : การแปรรูป, ผลิตภัณฑ์, กล้วยอบน้ำผึ้ง , ชุมชน, ตาก