ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม
ในโรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model)
ผู้ประเมิน พงศธร กวางอธิษฐ์โภคิน
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39
ปีที่ประเมิน 2560
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)ประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์(CIPP Model) 2)ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาและครู นักเรียน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายผู้ปกครอง ที่มีต่อบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ก่อนและหลังการดำเนินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยการใช้แบบสอบถามในการประเมินกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 275 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 14 คน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายผู้ปกครอง จำนวน 14 คน นักเรียน จำนวน 247 คน ในด้านบริบท(Context) ด้านปัจจัยนำเข้า(Input) ด้านกระบวนการ(Process) และด้านผลผลิต (Product) โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ประเมินโครงการ คือ แบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการ และแบบสอบถามความ
พึงพอใจ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินโครงการฯ และพบว่า
1.ผลการประเมินในภาพรวม พบว่า
1.1 ผู้บริหารสถานศึกษาและครู คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายผู้ปกครอง เห็นว่าโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในระดับมาก โดยภาพรวมด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกระบวนการ(ค่าเฉลี่ย=4.29 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.07) รองลงมาคือ ด้านบริบท(ค่าเฉลี่ย=3.97 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.12) และด้านปัจจัยนำเข้า(ค่าเฉลี่ย=3.91 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.11) ตามลำดับ
1.2 ผู้บริหารสถานศึกษาและครู คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายผู้ปกครอง นักเรียน เห็นว่าโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ในภาพรวมด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย=3.91 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.12)
2.ด้านบริบทของโครงการ(Context Evaluation) พบว่า
ผู้บริหารสถานศึกษาและครู คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายผู้ปกครอง เห็นว่า
มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย=3.97 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.12) เมื่อพิจารณา รายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมตามโครงการ ส่งเสริมการพัฒนาบรรยากาศและ สิ่งแวดล้อมของโรงเรียน เอื้อต่อการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน(ค่าเฉลี่ย=4.11 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.42) รองลงมา คือ เป้าหมายของโครงการ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน และบุคลากรในโรงเรียน(ค่าเฉลี่ย=4.07 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.54) กิจกรรมตามโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ครู และนักเรียน(ค่าเฉลี่ย =4.07 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.60) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โครงการมีหลักการสนองนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาตรฐานการศึกษาชาติ(ค่าเฉลี่ย=3.75 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.52) ตามลำดับ
3.ด้านปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) พบว่า
ผู้บริหารสถานศึกษาและครู คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายผู้ปกครอง เห็นว่า มีความเพียงพออยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย=3.91 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.11) เมื่อพิจารณา รายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ เหมาะสมกับงานที่ได้รับ มอบหมาย(ค่าเฉลี่ย=4.14 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.59) รองลงมา คือ งบประมาณที่ได้รับจากองค์กร สนับสนุนการจัดการศึกษามีความเหมาะสม เพียงพอต่อการดำเนินงาน(ค่าเฉลี่ย =4.00 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.54) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ(ค่าเฉลี่ย=3.75 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.52) ตามลำดับ
4.ด้านกระบวนการ(Process Evaluation) พบว่า
ผู้บริหารสถานศึกษาและครู คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายผู้ปกครอง เห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย=4.29 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.07) เมื่อพิจารณา รายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางการพัฒนา สิ่งแวดล้อม(ค่าเฉลี่ย=4.61 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.50) รองลงมา คือ มีการกำหนดขั้นตอน วิธีการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการ(ค่าเฉลี่ย=4.57 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.50) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในและนอกโรงเรียนในการดำเนินกิจกรรม (ค่าเฉลี่ย=4.07 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.60) ตามลำดับ
5.ด้านผลผลิต(Product Evaluation ) พบว่า
ผู้บริหารสถานศึกษาและครู คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายผู้ปกครอง นักเรียน เห็นว่า มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย=3.91 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.12) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีจริยธรรม คุณธรรม ด้านการรักษา ความสะอาดของห้องเรียน อาคารเรียน และสาธารณสถาน(ค่าเฉลี่ย=4.09 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.86) รองลงมา คือ ห้องเรียนสีเขียวได้มาตรฐาน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการให้ความรู้ด้านการใช้พลังงาน(ค่าเฉลี่ย=4.07 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.84) และข้อที่มีค่าเฉลี่ย ต่ำสุด ผลการจัดกิจกรรมห้องเรียนสีเขียว ทำให้โรงเรียนสามารถประหยัดงบประมาณค่าสาธารณู ปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปา(ค่าเฉลี่ย=3.70 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.71) ตามลำดับ
6.ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาและครู คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายผู้ปกครอง นักเรียน ที่มีต่อบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ก่อนและหลังการดำเนินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า
6.1 ก่อนการดำเนินโครงการ พบว่า
ความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง(ค่าเฉลี่ย=2.51 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.08) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียน มีความสะอาด สวยงามเอื้อต่อการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน(ค่าเฉลี่ย=3.12 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.66) รองลงมา คือ นักเรียนมีจริยธรรม คุณธรรม ด้านการรักษาความสะอาดของห้องเรียน อาคารเรียน และสาธารณสถาน(ค่าเฉลี่ย=2.74 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.63) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ครู และนักเรียน ร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม ตามโครงการ (ค่าเฉลี่ย=2.32 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.56) ตามลำดับ
6.2 หลังการดำเนินโครงการ พบว่า
ความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย=4.16 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.08) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด นักเรียนมีจิตสำนึกสาธารณะ ทิ้งขยะลงถังตามที่จัดไว้ให้(ค่าเฉลี่ย=4.30 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.67) รองลงมา คือ นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่องการแยกขยะ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และขยายผลกับเพื่อนและชุมชนได้(ค่าเฉลี่ย=4.27 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.72) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การจัดกิจกรรมห้องเรียนสีเขียว ทำให้โรงเรียนสามารถประหยัดงบประมาณค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปา(ค่าเฉลี่ย=4.04 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.50) ตามลำดับ
โดยสรุป จากผลการประเมินความพึงพอใจของ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู คณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายผู้ปกครอง นักเรียน ที่มีต่อบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ หลังเข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจมากกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ