ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน นางสิริยากร แข่งขัน
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านหนองคูสะแบะ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองคูสะแบะ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง
และหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ก่อนเรียนและหลังเรียน ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนบ้านหนองคูสะแบะ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 31 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
(Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน
คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 เล่ม แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อ
แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 15 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test (dependent Samples)
ผลการศึกษา พบว่า ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ E1 / E2 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานเท่ากับ 90.72 / 86.77 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ประสิทธิผลทางการเรียน
ของนักเรียนสูงขึ้น มีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7559 คิดเป็นร้อยละ 75.59 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจ
ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับที่มาก