ชื่อเรื่อง รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคาที่มีตัวสะกด
ไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้ศึกษา นายอเนก อุนามูล
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่
เขต 3
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคาที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคาที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคาที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคาที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 จานวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคาที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จานวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบ จานวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคาที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จานวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่าร้อยละ
สรุปผลการศึกษา
ผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคาที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคาที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.27/ 81.20
ข
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กาหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน
คาที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เท่ากับ 8.73 คิดเป็น ร้อยละ 28.93
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคาที่มี
ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (μ = 4.88,  = 0.87)