เรื่องที่ศึกษา รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดเหมืองประชาราม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา
ผู้รายงาน นายนันท์ฐวริทธิ์ เพชรสุก รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเหมืองประชาราม
ปีที่ศึกษา ๒๕60
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดเหมืองประชาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ในด้านบริบทสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการกับความต้องการของสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับความเหมาะสมของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ บุคลากรและวิธีการดำเนินการตามโครงการที่กำหนดไว้ ด้านกระบวนการเกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการที่ปฏิบัติจริง ด้านผลผลิตเกี่ยวกับความสอดคล้องของผลการดำเนินการกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ และศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดเหมืองประชาราม
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชากรที่ใช้ในการดำเนินโครงการครั้งนี้จำนวน 304 คน ประกอบด้วยนักเรียนจำนวน 304 คน ครู จำนวน 18 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 157 คน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวนทั้งหมด 324 คน ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเลือกแบบเจาะจงจำนวน 175 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 113 คน ซึ่งเป็นผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นกลุ่มตัวอย่าง คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ไม่ใช่ครูเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 13 คน ครูใช้การเลือกแบบเจาะจงเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 17 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ๕ ระดับ ของลิเกิร์ต ซึ่งผู้รายงานได้จัดสร้างขึ้นโดยผ่านการตรวจพิจารณาหาความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินด้านบริบทสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต จำนวน 79 ข้อ ซึ่งแบบ สอบถามประเมินด้านบริบทสภาพแวดล้อม มีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ .๙52 แบบสอบถามประเมินด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ .934 แบบสอบถามประเมินด้านกระบวนการ มีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ .958 และแบบสอบถามประเมินด้านผลผลิต มีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ .854
การจัดเก็บข้อมูล ผู้รายงานดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยกำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บ โดยแจกแบบสอบถามจำนวน ๓324 ฉบับ แบบสอบถามที่ได้รับคืนมาจำนวน ๓24 ฉบับ ซึ่งมีความสมบูรณ์ทั้ง ๓24 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย () ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ()
ผลการศึกษา พบว่า
จากการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดเหมืองประชาราม ในภาพรวม ผลการวิเคราะห์สามารถสรุปได้ดังนี้
๑. การประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดเหมืองประชารามโดยพิจารณาเป็นรายด้าน ดังนี้
1.๑ ด้านบริบทของโครงการตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆดังนี้
1.1.1 ด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.83 ,  = ๐.24)
1.1.2 ด้านความเป็นไปได้ของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.70 ,  = ๐.18)
1.1.3 ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.88 ,  = ๐.24)
1.1.4 ด้านความสอดคล้องของกิจกรรมของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.88 ,  = ๐.25)
1.2 ด้านปัจจัยของโครงการตามความคิดเห็นของครูและผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆดังนี้
1.2.1 ด้านผู้บริหารและครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.84 ,  = ๐.13)
1.2.2 ด้านงบประมาณและทรัพยากรของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.74 ,  = ๐.05)
1.2.3 ด้านระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.80 ,  = ๐.19)
1.2.4 ด้านหน่วยงานที่สนับสนุนของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.61 ,  = ๐.06)
2. การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดเหมืองประชาราม ตามประเด็นการประเมินและตัวชี้วัด ผลการประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินโครงการในภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมากที่สุด ทั้ง 4 ด้าน
4. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งเจดีย์ โดยพิจารณาเป็นรายด้าน สรุปได้ดังนี้
4.๑ ด้านบริบทสภาพแวดล้อม มีปัญหา และอุปสรรค ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายของโครงการเป็นไปตามความต้องการของบุคลากรเพียงบางส่วน และผู้ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงการดำเนินงานกิจกรรมในโครงการ ซึ่งมีข้อเสนอแนะ คือ ควรให้บุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายของโครงการ และควรประชาสัมพันธ์ เผยแพร่การดำเนินงานกิจกรรมให้ทั่วถึง ตามลำดับ
4.๒ ด้านปัจจัยนำเข้า มีปัญหา และอุปสรรค ได้แก่ เอกสาร หนังสือ คู่มือเกี่ยวกับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพยังมีน้อย ชุมชนและผู้ปกครอง ยังไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามโครงการ ขาดวิทยากรที่มีความรู้ความชำนาญในการจัดกิจกรรมด้านสุขภาพ อีกทั้งคุณครูประจำโรงเรียนยังมีความรู้ไม่ครอบคลุมทุกเรื่องในการจัดกิจกรรมของโครงการ ซึ่งมีข้อเสนอแนะ คือ ควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอในการดำเนินการจัดซื้อสื่อ เอกสาร หนังสือ หรือคู่มือเกี่ยวกับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพให้เพียงพอ ควรมีการประสานกับ ผู้ปกครองและชุมชนอย่างต่อเนื่อง ชี้แจงนโยบายและเป้าหมายการดำเนินโครงการให้ชัดเจน สนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมหรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับด้านสุขภาพ และสนับสนุนให้เชิญวิทยากรจากสาธารณสุขมาอบรมให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ
4.๓ ด้านกระบวนการ มีปัญหา และอุปสรรค ได้แก่ ระยะเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมมีความคลาดเคลื่อน ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด การจัดกิจกรรมไม่ค่อยเป็นไปตามแผน ปฏิบัติการที่วางไว้ และขาดความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ ซึ่งมีข้อเสนอแนะคือ มีการจัดทำปฏิทินการดำเนินงานที่ชัดเจน ตลอดจนมีการกำกับ ติดตามการดำเนินโครงการอย่างสม่ำเสมอ และพยายามให้ทุกคนเข้ามา มีส่วนร่วมในการดำเนินการ ตามลำดับ
4.๔ ด้านผลผลิต มีปัญหา และอุปสรรค ได้แก่ การร่วมกิจกรรมต่างๆด้านสุขภาพนักเรียนด้วยการปฏิบัติจริงยังทำได้น้อย นักเรียนบางส่วนไม่ให้ความสนใจในการปฏิบัติกิจกรรมด้านสุขภาพ นักเรียนบางคนไม่ได้อยู่กับบิดา มารดา และขาดการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครองเนื่องจากต้องทำงาน บุคลากรครูและผู้เกี่ยวข้องไม่ค่อยมีเวลาในการเห็นความสำคัญด้านสุขภาพ ซึ่งมีข้อเสนอแนะคือ ควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากยิ่งขึ้น ครูและนักเรียนร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และเน้นกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อดูแลสุขภาพของตนเอง