ชื่อผลงาน รายงานผลการพัฒนาชุดการสอนรายวิชาการงานอาชีพ 6
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ผู้รายงาน นางวิชชุตา พานิชอิน
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานผลการพัฒนาชุดการสอนรายวิชาการงานอาชีพ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการสอนรายวิชาการงานอาชีพ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนโดยใช้ชุดการสอนรายวิชาการงานอาชีพ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และ (3) เพื่อสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน
ที่มีต่อชุดการสอนรายวิชาการงานอาชีพ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนสตรีศรีน่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 ประชากรที่ใช้
ในการพัฒนาชุดการสอนในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสตรีศรีน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน จำนวน 10 ห้องเรียน นักเรียนทั้งหมด 200 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 26 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 25 คน ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสตรีศรีน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน จำนวนทั้งหมด 51 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีเครื่องมือได้แก่ ชุดการสอนรายวิชาการงานอาชีพ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี คู่มือและแผนการสอนใช้ชุดการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การหาค่าประสิทธิภาพของชุดการสอน ค่าเฉลี่ย (X-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การหาค่าความเที่ยงตรง (Validity) ดัชนีความสอดคล้องของสื่อ (เครื่องมือ) นวัตกรรม การหาค่าความยากง่าย (Difficulty) ของข้อสอบที่ใช้สถิติค่า p การหาค่าอำนาจจำแนก (Discriminating) การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการพัฒนาชุดการสอนรายวิชาการงานอาชีพ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เท่ากับ (E1) 82.61 / (E2) 83.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80 / 80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดการสอนรายวิชาการงานอาชีพ 6 ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยหลังเรียน (X-bar) = 33.43 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน (X-bar) = 22.67 นั่นคือ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการสอนรายวิชาการงานอาชีพ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการสอนรายวิชาการงานอาชีพ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ความพึงพอใจของนักเรียนจากชุดการสอนรายวิชาการงานอาชีพ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีค่า X-bar = 4.44, S.D. = 0.57 และถ้าพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดคือ ข้อ 7 มีค่า X-bar = 4.67, S.D. = 0.52 นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับรองลงมาคือข้อ 3 มีความสนุกสนานในการร่วมกิจกรรม มีค่า X-bar = 4.61, S.D. = 0.49 นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยที่สุดคือข้อ 9 ความยากง่ายเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน มีค่า X-bar = 4.14, S.D. = 0.75 นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก