ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น
รายวิชาเคมีพื้นฐานเรื่อง พันธะโคเวเลนต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง
ผู้ศึกษา นางพนัสสา ปลอดภัย
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น รายวิชาเคมีพื้นฐาน เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น รายวิชาเคมีพื้นฐาน เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรังให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น รายวิชาเคมีพื้นฐาน เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น รายวิชาเคมีพื้นฐาน เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น รายวิชาเคมีพื้นฐาน
เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการจัดการศึกษา คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง รวมนักเรียนทั้งหมด 25 คน ซึ่งได้มาโดย วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ วัฏจักร 7 ขั้น จำนวน 5 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น จำนวน 12 แผน แบบทดสอบย่อยจำนวน 5 ฉบับ เวลา 18 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาเคมีพื้นฐาน เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ ผู้ศึกษาได้ดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูล ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง โดยใช้ผลการทดสอบระหว่างเรียนด้วยแบบทดสอบตอนที่ 1-5 เรื่องพันธะโคเวเลนต์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.96/81.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น รายวิชาเคมีพื้นฐาน เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง มีค่าดัชนีเท่ากับ 0.77 ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 77.00
3. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังเรียน
ด้วยการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น รายวิชาเคมีพื้นฐาน
เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น รายวิชาเคมีพื้นฐาน เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.41 ซึ่งมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น รายวิชาเคมีพื้นฐาน
เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง มีประสิทธิผลช่วยให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง เนื่องจากหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น ทำให้ผู้เรียนมีความรู้และมีความเข้าใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องและเหมาะสม ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้น ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น จึงเป็นสื่อ นวัตกรรม ที่ช่วยให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามวัตถุประสงค์