บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) ให้มีประสิทธิภาพ E1/ E2 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI)
กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560โรงเรียนบ้านวังหินซอง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 จำนวน 8 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากโรงเรียนบ้านวังหินซอง เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่มีชั้นเรียนละ 1 ห้องเรียน ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาจึงเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้งหมดระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง ผู้รายงานเป็นผู้ทำการสอนด้วยตัวเองในชั่วโมงเรียนโดยทำการทดสอบก่อนเรียน 1 วัน ใช้เวลา 1 ชั่วโมง แล้วจึงทำการสอนเป็นระยะเวลา 17 วัน วันละ 1 ชั่วโมง รวม 17 ชั่วโมง จากนั้นทำการทดสอบหลังเรียน 1 วัน ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ระหว่างวันที่ 24 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ถึง วันที่ 29 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2560 รวมระยะที่ใช้ในการทดลองทั้งสิ้น 19 ชั่วโมง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) จำนวน 10 เล่ม2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 19 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง บทประยุกต์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นข้อสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบท้ายแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ จำนวน 10 เล่ม เล่มละ 10 ข้อ รวม 40 ข้อ 5) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t – test Dependent)
ผลการศึกษา พบว่า 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) มีประสิทธิภาพ 82.38/82.08 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อน ช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) โดยรวมคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( , SD = 0.48)