ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะ
หาความรู้ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทพลีลา
ผู้ศึกษา กัญจน์ณัฏฐ์ อ่อนหนู
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 5 รหัสวิชา ว23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มแล้วใช้การชักตัวอย่างแบบสุ่มเพื่อเลือกกลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ จำนวน 6 ชุด ชุดที่ 1 เรื่อง ความเร่งและผลของแรงลัพธ์ที่ทำต่อวัตถุ ชุดที่ 2 เรื่อง แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา ชุดที่ 3 เรื่อง แรงพยุงของของเหลว ชุดที่ 4 เรื่องแรงเสียดทาน ชุดที่ 5 เรื่อง โมเมนต์ของแรง และชุดที่ 6 เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรงและแนวโค้ง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.88 มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.28-0.72 มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.30-0.74 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.91 แบบแผนการศึกษา ใช้รูปแบบการศึกษาแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t test วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
ผลการศึกษา พบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 80.61/82.44
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก