วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อสร้างชุดการสอนทักษะการผูกเงื่อน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลูกเสือ เนตรนารีสามัญ
รุ่นใหญ่ ลูกเสือโลก ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลูกเสือ เนตรนารีสามัญ
รุ่นใหญ่ ลูกเสือโลก ก่อนและหลังการใช้ชุดการสอนทักษะการผูกเงื่อน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของลูกเสือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ที่มีต่อชุดการสอนทักษะการผูกเงื่อน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลูกเสือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสือโลก
วิธีการดำเนินการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดเขารวก อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ผู้ศึกษาปฏิบัติหน้าที่สอน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดเขารวก อำเภอตะพานหินจังหวัดพิจิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 27 คน
สรุปผล
1. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของชุดการสอนทักษะการผูกเงื่อน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนลูกเสือ -
เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสือโลก มีประสิทธิภาพของกระบวนการเท่ากับ 81.89 และมีประสิทธิภาพ ของผลรับเท่ากับ 89.26 แสดงว่าชุดการสอนมีประสิทธิภาพ 81.89/89.26 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการทดลอง นักเรียนจำนวน 27 คน
ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชุดการสอนทักษะการผูกเงื่อน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนลูกเสือ
เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสือโลก ได้ คะแนนเฉลี่ย (μ) ก่อนเรียน = 43.64 (= 2.00) คิดเป็นร้อยละ 43.64 ได้คะแนนเฉลี่ย (μ) หลังเรียน = 89.26 (= 1.19) คิดเป็นร้อยละ 89.26 มีความก้าวหน้าผลต่างโดยเฉลี่ย 45.62 เมื่อพิจารณาความก้าวหน้าทั้งหมด พบว่ามีความก้าวหน้า (ผลต่าง) อยู่ระหว่าง +23 ถึง +33 3. ความพึงพอใจของลูกเสือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสือโลก ที่มีต่อชุดการสอนทักษะการ
ผูกเงื่อน พบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.58 ,  = 0.54) ด้านที่มีความพึงพอใจสูงที่สุดคือ ด้านการวัดและประเมินผล (μ = 4.64 ,  = 0.55) รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ (μ = 4.60 ,  = 0.48) และด้านเนื้อหา(μ = 4.57 ,  = 0.60) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้วพบว่าข้อที่นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ ข้อที่ 18 ลูกเสือ - เนตรนารีพอใจที่ได้มีส่วนร่วมทำให้คะแนนของเพื่อนสูงขึ้น (μ = 4.78 ,  = 0.43) รองลงมาเท่ากัน 3 ข้อ คือข้อ 6 ลูกเสือ เนตรนารีมีความสุขที่ได้ร่วมกิจกรรมในการเรียนรู้จาก การได้ลงมือปฏิบัติจริง (μ = 4.72 ,  = 0.46) ข้อที่ 7 ลูกเสือ - เนตรนารีได้ร่วมกันเรียนรู้เป็นหมู่อย่างมีความสุข (μ = 4.72 ,  = 0.46) และข้อที่ 10 ลูกเสือ เนตรนารี ได้ฝึกปฏิบัติต่าง ๆ จนมีความมั่นใจ (μ = 4.72 ,  = 0.46)