ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ
พลศึกษา เรื่องความปลอดภัยในชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษา นางรพินทร์นารถ สุขศาลา
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านพังงู ตำบลพังงู อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนา หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่องความปลอดภัยในชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องความปลอดภัยในชีวิต นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบ้านพังงู ตำบลพังงู อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 14 คน ได้มาโดยการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต จำนวน 10 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต จำนวน 10 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น การหาค่าประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และสถิติทดสอบค่าที (t-test) แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต จำนวน 10 เล่ม สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้
1. การพัฒนาประสิทธิภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านพังงู ตำบลพังงู อำเภอหนองหาน จังวัดอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต จำนวน 10 เล่ม ผลการพัฒนา พบว่า การทดลองใช้แบบเดี่ยว (1 : 1), การทดลองใช้แบบกลุ่มเล็ก (1 : 10) และการทดลองใช้ภาคสนาม (1 : 100) มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามลำดับดังนี้ 61.67/76.67, 70.00/82.67, 73.70/90.54 และผลการหาประสิทธิภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต จำนวน 10 เล่ม พบว่า มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 91.00/88.33
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านพังงู ตำบลพังงู อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01