ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนตลาดสำรอง
ชื่อผู้วิจัย : นางเพชรรัตน์ นามมั่น
หน่วยงาน : โรงเรียนตลาดสำรอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษา : 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบการเรียนการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้ 2.1 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2.2 ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องงานประดิษฐ์ของนักเรียนก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการสอน 2.3 ประเมินทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนระหว่างเรียน 2.4 ประเมินความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานประดิษฐ์ของนักเรียนหลังเรียน 2.5 ประเมินการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานประดิษฐ์ของนักเรียนหลังเรียน 2.6 ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 โรงเรียนตลาดสำรอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องงานประดิษฐ์แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานประดิษฐ์ แบบประเมินการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานประดิษฐ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1) รูปแบบการเรียนการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า อาร์ดีพีดีอีบี (RDPDEB Model) มีองค์ประกอบของรูปแบบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.หลักการ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานอาชีพ โดยใช้หลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม ส่งผลให้ผู้เรียนปฏิบัติงานอาชีพได้อย่างสร้างสรรค์ 2.วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานอาชีพอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม 3. กระบวนการเรียนการสอนมี 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การร่วมรับรู้ (Receiving: R) จัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้ร่วมกันศึกษาความรู้อันเป็นข้อมูลพื้นฐานงานประดิษฐ์ด้านนั้น ๆ ตลอดจนร่วมกันศึกษาขั้นตอนการประดิษฐ์ และได้ร่วมกันทดลองประดิษฐ์ตามแบบที่ครูได้ออกแบบไว้ จนเกิดความเข้าใจและเห็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน ขั้นที่ 2
การร่วมคิดและตัดสินใจ (DecisionMaking : D) จัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนร่วมกันระดมความคิดในการประดิษฐ์งานนั้น ๆ อย่างหลากหลาย และร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการตัดสินใจสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ ขั้นที่ 3 การร่วมวางแผน (Planning : P) จัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้ร่วมกันออกแบบชิ้นงานการประดิษฐ์ ตามความคิดสร้างสรรค์ และร่วมกันวางแผนการปฏิบัติงาน โดยการกำหนดวัสดุอุปกรณ์ กำหนดขั้นตอนปฏิบัติงาน แบ่งความรับผิดชอบ ขั้นที่ 4 การร่วมปฏิบัติ (Doing : D) จัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้ร่วมกันปฏิบัติงานการประดิษฐ์ตามแผนที่วางไว้ และร่วมกันสังเกตและสะท้อนผล
การปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนของการปฏิบัติงานประดิษฐ์ ขั้นที่ 5 การร่วมประเมินผล(Evaluating: E )จัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้ร่วมกันวิเคราะห์และประเมินผลการปฏิบัติงานประดิษฐ์ โดยใช้ทฤษฎีการคิดวิเคราะห์หมวกความคิดหกใบ รวมทั้งร่วมกันเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงพัฒนางาน ขั้นที่ 6 การร่วมรับผลประโยชน์ (Benefit: B) จัดกิจกรรมให้นักเรียนร่วมกันชื่นชมผลงานของตนเองและของกลุ่มอื่น ๆ ตลอดจนร่วมกันเสนอแนะแนวทางในการนำผลงานไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สมาชิกในกลุ่มและประโยชน์ต่อส่วนรวม และ 4.เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่ ระบบสังคม(Social System) การเรียนรู้ตามรูปแบบต้องมีระบบสังคมแห่ง
การเรียนรู้ ดังนี้ 1) นักเรียนต้องเป็นผู้รับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง และการเรียนรู้ของกลุ่ม
2) นักเรียนต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน กล้าพูด กล้าเสนอความคิด กล้าที่จะซักถาม 3) นักเรียนต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนอย่างต่อเนื่องกล้าที่จะเสนอความคิด และกล้าที่จะซักถาม 4) นักเรียนต้องมีทักษะและกล้าที่จะตั้งคำถามเพื่อค้นหาคำตอบในสิ่งที่อยากรู้เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ ระบบสนับสนุน (Support System) การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบผู้สอนจะต้องจัดระบบสนับสนุนดังนี้
1) ผู้สอนเป็นผู้จัดบรรยากาศการเรียนรู้ทั้งด้านกายภาพและจิตภาพในเชิงบวก 2) ผู้สอนจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์การเรียนรู้ให้เพียงพอกับความต้องการของนักเรียน 3) ผู้สอนจัดบรรยากาศการเรียนให้อบอุ่น ผ่อนคลาย เป็นกันเอง และมีจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง 4) ผู้สอนต้องกระตุ้นให้นักเรียนใช้เทคนิคการระดมสมองในการระดมความคิดสร้างสรรค์การปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างจริงจัง 5) ผู้สอนต้องกระตุ้นให้นักเรียนกล้าที่จะตั้งคำถามในการวิเคราะห์และพัฒนางานสร้างสรรค์ผู้สอนจัดหาตัวอย่างผลงานการประดิษฐ์อันเป็นความคิดสร้างสรรค์อย่างหลากหลายเพื่อเป็นต้นทุนการคิดสร้างสรรค์ให้กับผู้เรียน หลักการตอบสนอง การนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ต้องคำนึงถึงการตอบสนองต่อนักเรียนในระหว่างการเรียนรู้ตามรูปแบบดังต่อไปนี้ 1) ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการเรียนรู้ 2) ผู้สอนสนทนาซักถามเพื่อกระตุ้นการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 3) ผู้สอนดูแล และติดตามให้นักเรียนเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดผลงานการประดิษฐ์ที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ และพบว่ารูปแบบการเรียนการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้และความสอดคล้องของรูปแบบสูง และเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2) ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนตลาดสำรอง พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องงานประดิษฐ์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการเรียนการสอน นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ระหว่างเรียนในระดับสูงมาก และมีความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานประดิษฐ์หลังเรียนในระดับสูงมาก ส่วนการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานประดิษฐ์ของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด และยังพบอีกว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์อยู่ในระดับมากที่สุด