ชื่อเรื่อง การประเมินการบริหารหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ธรรมชาติศึกษากับป่าเขาใหญ่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเขาใหญ่พิทยาคม
ชื่อผู้วิจัย นายณัฐกฤษฎ์ ภูฆัง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2561
การประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการบริหารหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ธรรมชาติศึกษากับป่าเขาใหญ่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเขาใหญ่พิทยาคม เกี่ยวกับบริบทหรือสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ ผลผลิต ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายโยงความรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินแบบประเมิน ได้แก่ หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ จำนวน 1 คน ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 2 คน และวิทยากรจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จำนวน 2 คน รวมจำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเขาใหญ่พิทยาคม ยกเว้นผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 8 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 68 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 68 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ จำนวน 1 คน ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 2 คน และวิทยากรจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จำนวน 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเขาใหญ่พิทยาคม ยกเว้นผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 2 คน ได้มาจาก
การเลือกแบบเจาะจง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการสัมภาษณ์ความพึงพอใจของนักเรียน (ด้านผลผลิต) เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แยกเป็นนักเรียนเก่ง ปานกลาง อ่อน กลุ่มละ 3 คน รวมเป็น 9 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ 1) แบบประเมินการบริหารหลักสูตรท้องถิ่น 2) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินคุณภาพของนักเรียน 4) แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง 5) แบบทดสอบวัดความรู้ และ 6) แบบรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ และการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการประเมิน พบว่า
1. ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม โดยรวมมีระดับเป็นจริงมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ตั้งไว้ ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา ธรรมชาติศึกษากับป่าเขาใหญ่ทั้งสองวิชาโดยผู้เชี่ยวชาญ มีคุณภาพสูง
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยรวมมีระดับเป็นจริงมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ตั้ง
3. ด้านกระบวนการ โดยรวมมีระดับเป็นจริงมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ตั้งไว้
4. ด้านผลผลิต สรุปผลการประเมินได้ดังนี้
4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน วิชา ธรรมชาติศึกษากับป่าเขาใหญ่ 1 และธรรมชาติศึกษากับป่าเขาใหญ่ 2 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.2 ผลการประเมินคุณภาพของนักเรียน ได้แก่ 1) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ได้แก่ ใฝ่เรียนรู้ และมีจิตสาธารณะ ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคน โดยนักเรียนส่วนใหญ่มีผลการประเมินระดับคุณภาพดีเยี่ยมทั้งสองคุณลักษณะ 2) ผลการประเมินสมรรถนะที่สำคัญของนักเรียน ได้แก่ ความสามารถในการคิด ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคน โดยนักเรียนส่วนใหญ่มีผลการประเมินระดับคุณภาพดีเยี่ยมทั้งห้าสมรรถนะ และ 3) ผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนเมื่อจบหลักสูตร จำนวน 8 ข้อ ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคน โดยนักเรียนส่วนใหญ่มีผลการประเมินระดับคุณภาพดีเยี่ยมทั้ง 8 ข้อ
4.3 ผลการประเมินความความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูตามหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ธรรมชาติศึกษากับป่าเขาใหญ่ โดยรวมมีระดับความพึงพอใจมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ตั้งไว้
5. ด้านผลกระทบ โดยรวมมีระดับเป็นจริงมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ตั้งไว้
6. ด้านประสิทธิผล โดยรวมมีระดับเป็นจริงมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ตั้งไว้
7. ด้านความยั่งยืน โดยรวมมีระดับเป็นจริงมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ตั้งไว้
8. ด้านการถ่ายโยงความรู้ โดยรวมมีระดับเป็นจริงมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ตั้งไว้