ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหา
ความรู้ แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย์ปัญหา
ฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง งานและพลังงาน วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นางสินีนาฏ เติมวุฒ
โรงเรียนเมืองพญาแลวิทยา อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง งานและพลังงาน วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง งานและพลังงาน วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง งานและพลังงาน วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม ให้มีนักเรียนจำนวนร้อยละ 75 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 75 ขึ้นไป 4) เปรียบเทียบคะแนนสอบหลังเรียนกับก่อนเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักร การเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยาเรื่อง งานและพลังงาน วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง งานและพลังงาน วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม รูปแบบของการศึกษาเป็นการศึกษาเฉพาะกรณีโดยให้การทดลองหนึ่งครั้ง (One shot case study) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเมืองพญาแลวิทยา อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 33 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่มจากการจับฉลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง งานและพลังงาน วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง งานและพลังงาน วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 แผน ใช้เวลาทั้งหมด 20 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน งานและพลังงาน วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง งานและพลังงาน วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อคำถาม มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.71-0.94 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ ท การสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง งานและพลังงาน วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 82.99/82.42 ผ่านเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง งานและพลังงาน วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7532 ผ่านเกณฑ์ 0.7000 ที่ตั้งไว้
3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง งานและพลังงาน วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 75 ขึ้นไป จำนวน 29 คน จากทั้งหมด 33 คน คิดเป็นร้อยละ 87.88 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ที่ตั้งไว้
4. นักเรียนที่เรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักร การเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง งานและพลังงาน วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม มีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้
5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เสริมด้วยการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา เรื่อง งานและพลังงาน วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( "X" ̅ = 4.51 , S.D. = 0.57 ) สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้