ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมดนตรีบำบัดของเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังระดับประถมศึกษา ศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังโรงพยาบาลชลบุรี
ชื่อผู้ศึกษา นางสาววาสนา วิลัยเกษ
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมดนตรีบำบัด 2) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมดนตรีบำบัด มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเล่นดนตรีบำบัดก่อน - หลังใช้ชุดกิจกรรมดนตรีบำบัด 4) เพื่อเปรียบเทียบสุขภาพจิตก่อน หลังใช้ชุดกิจกรรมดนตรีบำบัด 5) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติทางการเรียนก่อน หลังเรียน หลังใช้ชุดกิจกรรมดนตรีบำบัด 6) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังที่มีต่อชุดกิจกรรมดนตรีบำบัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ประชากร เป็นเด็กเจ็บป่วยเรื้อรัง ระดับประถมศึกษาอายุ7-12 ปี ของศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังโรงพยาบาลชลบุรี ปีการศึกษา 2560 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ชุดกิจกรรมดนตรีบำบัด จำนวน 10 แบบประเมินความสอดคล้องของชุดกิจกรรมดนตรีบำบัดของเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังระดับ
ประถมศึกษา ศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังโรงพยาบาลชลบุรี แบบวัดทักษะการเล่นดนตรีบำบัด มีจำนวน 15ข้อ แบบวัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น Thai Mental Healt Indicatorจำนวน 15ข้อ แบบวัดเจตคติทางการเรียนดนตรีบำบัดจำนวน 10 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของเด็กเจ็บป่วยเรื้อรัง ที่มีต่อชุดกิจกรรมดนตรีบำบัดจำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ หาค่าความสอดคล้องของชุดกิจกรรมดนตรีบำบัด และ หาค่าความตรงเชิงเนื้อหา หาค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนกของแของแบบวัดทักษะการเล่นดนตรีบำบัด และการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมดนตรีบำบัดใช้สถิติวิลคอกซอน ซายน์ แรงค์ (the wilcoxon signed ranks test) วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ ชุดกิจกรรมดนตรีบำบัดของเด็กเจ็บป่วยเรื้อรัง ศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังโรงพยาบาลชลบุรีซึ่งผู้วิจัยได้จัดทำชุดกิจกรรม 10 ชุด ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าชุดกิจกรรมดนตรีบำบัด หาความรู้ในภาพรวมมีความสอดคล้อง โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.12
2. ประสิทธิภาพของการพัฒนาชุดกิจกรรมดนตรีบำบัดของเด็กเจ็บป่วยเรื้อรัง ศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังโรงพยาบาลชลบุรี มีประสิทธิภาพ 84.20 /82.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (70/70)
3. ผลการเปรียบเทียบทักษะการเล่นดนตรีบำบัด ก่อนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมดนตรีบำบัดพบว่า หลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรมกิจกรรมดนตรีบำบัด แล้ว นักเรียนมีทักษะการเล่นดนตรีบำบัด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.ผลการเปรียบเทียบคะแนนดัชนีชี้วัดสุขภาพจิต ก่อนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมดนตรีบำบัดพบว่าหลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรมกิจกรรมดนตรีบำบัด แล้ว นักเรียนมีคะแนนดัชนีชี้วัดสุขภาพจิต หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ผลการเปรียบเทียบเจตคติทางการเรียนก่อน-หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมดนตรีบำบัด นักเรียนมีเจตคติทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ผลการศึกษาความพึงพอใจของเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังหลังการใช้ชุดกิจกรรมดนตรีบำบัด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.22 ซึ่งระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด