ชื่อเรือง รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย นางสุวรรณา ยอดประชา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนบ่อวิทยบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนบ่อวิทยบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1)ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 8 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก โดยมีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.50-0.70 ค่าอำนาจจำแนก ( r ) เป็นรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.32-0.72 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 10 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 การทดลองเป็นแบบ One Group Pretest- Posttest Design นำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังเรียนด้วยสถิติ t-test แบบ dependent โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.96/83.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตชุดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากขึ้นไป( = 4.96, S.D. = 0.49)